Class A Solution

View Original

Charles and Ray Eames นักออกแบบผู้สั่นสะเทือนวงการ Industrial Design

"Charles​ and Ray​ Eames" ผู้ใช้การออกแบบพิชิต​ Missionท้าทายแห่งยุคสมัย

ในยุคที่​ 'ไม้​ '​ยังเป็นวัสดุหลักในการทำ'Product'​ ปัญหาที่พบเจอคือ​'ไม้ '​นั้นปลูกทดแทนได้ยาก​ ช้า​ ไม่เพียงพอต่อความต้องการ​ และหากยังฝืนใช้ต่อไปเรื่อยๆ​ ก็เหมือน'ระเบิด'​ ที่รอเวลานับถอยหลังเท่านั้น การหาวัสดุทดแทน​จึงถือว่าเป็น "Mission” ท้าทายแห่งยุคสมัย"นั้นเลยก็ว่าได้

'ไม้อัด'​(Ply​wood)​ คือการนำเศษไม้​ มาอัดรวมกันจนกลายเป็นแผ่น​ แข็งแรง​ น้ำหนักเบานับว่าเป็น​ หนึ่งใน'วัสดุแห่งอนาคต'​ในช่วงเวลานั้น ('พลาสติก'​ก็ยังอยู่ในช่วงเวลา​ ตั้งไข่เช่นกัน)​

ปัญหาคือ​ ไม้อัดในตอนนั้นทำ​'Form'​ได้ยากซึ่งถือว่าเป็นข้อจำกัดที่​ทำให้​เหล่า​ Designer และช่างต้อง​'กุมขมับ'​ไปตามๆกัน..

ขอเชิญทุกท่าน​ ร่วมสำรวจ​เส้นทางสู่ฝันอันยิ่งใหญ่ของคู่รักนักออกแบบ ผู้​เป็น​ Icon แห่งวงการ​ 'industrial​ design'​ ยุค​ 50​-70​s

Charles Eames (ค.ศ.1907-1978)
เป็นสถาปนิก​ ก่อนจะมาเป็นอาจารย์ประจำ
ภาควิชา​ 'Industrial​ Design'​ ในมหาวิทยาลัย Cranbrook Academy of Art ในรัฐมิชิแกน​ ​
.
Ray Kaiser (ค.ศ.1912-1988)
เป็นนักศึกษาด้านศิลปะ​ที่​ Cranbrook Academy of Art ในรัฐมิชิแกน​
.
มหาวิทยาลัยแห่งนี้​ คือที่ๆพวกเค้าได้พบกันครั้งแรก
.
ในขณะนั้นชาร์ลส์​และเพื่อน​ Eliel Saarinen
กำลังเตรียมผลงาน​"ออกแบบเก้าอี้​ ด้วยเทคนิคไม้อัดดัดโค้ง" เพื่อส่งเข้าประกวดในงาน​ Organic Design​Competition จัดโดย​ Museum of​ Modern​ Art
.
ด้วย​'Concept'​ ที่ต้องการนำเสนองาน​
"Organic Form" ที่ผลิตจาก​ ​'ไม้อัด'​
ซึ่งแปลกจากยุคนั้น​ ในยุคที่วัสดุไม้​ ยังไม่พ้นจาก
การทำอะไรเป็นแผ่นๆ​ เหลี่ยมๆ​ มาประกอบกัน
.
พวกเค้าทำสำเร็จ​ 'Charles และ​ Eliel Saarinen'​
คว้ารางวัลที่ 1​ จากงานประกวดมาครองได้
.
จนโรงงาน Heywood-Wakefield สนใจ​​ พร้อมยื่นข้อเสนอ​ซื้อแบบผลงานนั้นในทันที​ ทุกอย่างทำท่าจะดี​ ก่อนที่พวกเค้าจะพบว่า​ งานของพวกเค้าไม่สามารถผลิตออกมาแบบ "Mass Production" ได้​
.
ด้วย 'Form Organic' ที่ซับซ้อนเกินกว่าที่วัสดุไม้ที่ใช้ถูก 'ดัด'​ แล้วไม่หัก​ ในการผลิตจริงจึงแก้ปัญหาด้วยการหุ้มโครงสร้างไม้ดัดนั้นด้วยผ้าอีกที เพื่อปิดบาดแผลจากการดัดไม้ในเวลานั้น ในมุมมองของวงการ 'industrial​ design'​ แม้งานชิ้นนี้จะได้รางวัลที่1​ แต่ก็ยังถือว่าสอบตกอยู่ดี
.
ด้วยเหตุนี้​ งานชิ้นนี้​จึงถูกฝังไว้ที่​ Museum เท่านั้น..
.
เหตุผลหลักที่ต้องผลิตแบบ "Mass Production"ให้ได้ก็คือ​ สมมุติเราทำงานชิ้นนึงสวยมาก​ แต่ผลิตต่อไม่ได้
ทำซ้ำไม่ได้​ = ราคาสินค้าแพง​
ราคาสินค้าแพง​ = คนซื้อน้อย
พอคนซื้อน้อย​หรือไม่ซื้ิอ​ ก็ไม่มีเงินพอที่จะไปเลี้ยงบริษัท​ TT
.
อย่างไรก็ตาม​ หลังจากผ่านห้วงเวลาแห่งความผิดหวัง
Charles และ​ Ray​ ทั้งคู่ตัดสินใจ​ แต่งงานกัน​ในปี​ ค.ศ.​ 1941 ก่อนย้ายถิ่นฐานมาอยู่ที่ลอสแอนเจลิส​
ในอพาร์ทเมนท์เล็กๆ​ พร้อมด้วยไฟและโจทย์ที่ยิ่งใหญ่
.
​โจทย์ที่จะสั่นสะเทือนวงการ​ 'Industrial​ Design'
ไปตลอดกาล
.
"เราจะสามารถทำเก้าอี้​ไม้อัด​ดัด​ ให้ผลิตแบบ​ Mass​ Production ได้อย่างไร?"

ที่มา : https://riunet.upv.es/bitst.../handle/10251/137369/Montes...
https://www.loc.gov/exhibits/eames/furniture.html

ในอพาร์ทเมนท์เล็กๆ​ที่ลอสแอนเจลิส
.
คราวนี้ทั้งคู่​ไม่ได้หยุดอยู่ที่​การดัดไม้​ หรือการพยายามหาโรงงาน​เพื่อที่จะ​ 'ดัดไม้​'​ เพราะช่างที่มีในยุคนั้นก็ยัง
ไม่พร้อมยอมรับด้วยเช่นกัน
.
พูดง่ายๆ​เหมือนเราเดินเข้าไปในโรงงาน​ แล้วจู่ๆก็บอกช่าง​ ให้เปลี่ยน ​"Process" การทำงาน​ ช่างก็คงจะ..
'​อิหยังวะ?' เพราะช่างเค้าทำงานเดิมๆ​ ได้เงินอยู่ดีๆ​
แล้วเค้าจะเสี่ยงมาทดลองด้วยทำไม?
.
ในขณะนั้น​ชาร์ลส์ได้ทำงานเป็นพนักงานในบริษัทเอกชน​แห่งหนึ่ง​
ระหว่างนั้น​ก็แอบจิ๊กเอาเศษวัสดุ (ไม้อัด) จากบริษัท​ มา​ทดลองต่อ
ที่อพาร์ทเมนท์กับ Ray ด้วย
.
ด้วยการลองผิดลองถูก​ ด้วยความพยายามอุตสาหะ
จนในที่สุด​ พวกเค้า​ก็ได้ค้นพบ​ความจริงว่า​ การพยายามเอา​'ไม้อัด'​ แผ่นใหญ่ๆ ตรงๆมาดัด​ 'Form'​
.
" มัน เป็น ไป ไม่ ได้​ !! "
.
.
ดั่ง'ไอแซค​ นิวตัน'​ที่โดนแอปเปิ้ลตกใส่หัว
ดั่ง'อาร์คิเมดีส'​ที่ร้องตะโกนกู่ก้อง​ "ยูเรก้า"
พวกเค้าเกิดความคิดใหม่​ ว่าจริงๆแล้ว​'ไม้อัด'​แผ่นต่างๆ
มันต้องถูกคิดให้เป็นเหมือน​ 'Packaging'!!
.
คือมันต้องออกแบบเป็น​ "2มิติ"(2D)​ลงบนแผ่นไม้อัด​ ก่อนที่จะนำไปตัด​ ไปพับ​ ให้เกิด 'Form'​ เกิดทรง​ และการอบวัสดุในอุณหภูมิองศากับระยะเวลาที่พอเหมาะ​ แล้วค่อยมาดัดใส่แม่พิมพ์
.
จากไอเดียนี้​ Rayในฐานะที่เป็นศิลปิน​ เป็น ​'Artist'​
ได้รับไม้ต่อ​ เริ่มทดลองรังสรรค์ผลงาน​ Art Piece ขึ้น
.
เมื่อตระหนักรู้แล้วว่า​ วัสดุมันไปได้ขนาดนี้​ มันสามารถหลุดจากกล่อง 4 เหลี่ยม​ ไปสู่ 'Organic Form'​ แถมยังสามารถผลิตเป็น​ 'Mass Production'​ ได้
.
ตำนานการ​"Challenge" ที่สั่นสะ-ท้านทั้งวงการ
'Industrial​ Design​'​ ซึ่งส่งผล'สั่นสะเทือน'​ไปทั่วโลก​
ก็ได้เริ่มต้นขึ้น

ที่มา : https://www.loc.gov/exhibits/eames/furniture.html
https://www.eamesoffice.com/the-work/plywood-sculpture/

ผลงาน​ ศิลปะที่ Ray Eames ได้ทดลองกับเทคนิคการดัดไม้อัด เพื่อการทำให้วัสดุสร้าง form เกินกว่าขีดจำกัดเดิมที่เคยทำไว้

ที่มา : https://www.pinterest.com/eame.../show-us-your-eames-splint/

ในห้วงเวลาแห่งการค้นพบของCharlesและ​ Ray
.
ตรงกับช่วงเวลาของสงครามโลกครั้งที่​ 2​ พอดี
(ค.ศ.​1941 -​ 1942) สหรัฐได้เข้าร่วมสงคราม
หลังถูกญี่ปุ่นโจมตีฐานทัพเรือที่ 'อ่าวเพิร์ล'​
กองทัพเรือสหรัฐอเมริกาได้ส่งเทียบเชิญ​ ให้ Charles and Ray ช่วยออกแบบ​"Product" ชิ้นหนึ่ง​ นั่นก็คือ
.
"เฝือกไม้​ดามขา" Molded Plywood Leg Splints สำหรับทหารที่ขาหักในสงคราม
.
ทั้งคู่ได้นำองค์ความรู้ที่ค้นพบ​มาใช้อย่างเต็มที่
โดยการนำแผ่นไม้อัดมาทำ​ 'Patterns 2มิติ'​
ก่อน​ ตัด​ เจาะ​ เพื่อให้แผ่นไม้ให้ตัว และดัดได้ใน Form​
ที่ซับซ้อน​ ก่อนนำไปอัดในแม่พิมพ์​ ออกมาเป็น​ที่ช่วย
พยุง​ ประคองขา​ ซึ่งมีรูสำหรับใส่ที่รัด​ เพื่อเพิ่มความกระชับด้วย
.
ถามว่า​"Product" ชิ้นนี้มันเจ๋งยังไง?
.
ถ้ามองย้อนไปในยุคที่'​พลาสติก'ยังไม่มีเทคนิคการขึ้นแม่พิมพ์ขนาดใหญ่​ ตัวเลือกวัสดุถัดมา​ ก็คงจะเป็น 'เหล็ก'​ซึ่งสามารถทำได้​ แต่มัน ​"หนัก" เกินกว่าที่คนขาหักจะใช้พยุงตัว​(คนขาดีๆก็ยังลำบากเช่นกัน)​
.
ไม้อัด (Plywood) จึงเป็นวัสดุเดียวที่ตอบโจทย์​!!
ด้วยน้ำหนักที่เบา​ แข็งแรง​ แถมดัดเป็น​ 'Organic Form'​ เพื่อสอดรับกับ​ 'Ergonomic'​ ของขาได้​เป็นอย่างดี
งานชิ้นนี้ถือเป็น​ Iconic และยังเป็นงานไม้ดัด
ที่ผลิตเป็น​ "Mass Production" ในจำนวน 5000 ชิ้น เป็นครั้งแรกของโลกอีกด้วย
.
คงไม่ต้องกล่าวว่า​ "Product" ชิ้นนี้
ได้ช่วยชีวิตทหารในสงคราม​ และผู้คนที่อยู่เบื้องหลังพวกเค้าไว้มากแค่ไหน​..

ที่มา : https://www.klatmagazine.com/.../marily-neuhart-the.../43184
https://www.bidsquare.com/.../philco-predicta-tandem...
https://theculturetrip.com/.../take-your-pleasure.../

อะไรจะเกิดขึ้น​ เมื่อ​โลกได้รู้จักกับสิ่งที่เรียกว่า
"โทรทัศน์" เป็นครั้งแรก
.
ถ้าเปรียบกับปัจจุบัน​ ให้เข้าใจง่่าย​
ให้นึกถึง​การถือกำเนิดของ​ "IPhone"
.
เมื่อ​ 'IPhone'​ ​เกิด​ 'Product'​ อื่นๆที่รายล้อมก็ตามมา​ เช่น​ แท่นวางมือถือ​ ที่พันสายชาร์จ​ ฯลฯ​ ถือว่าเป็น​ 'Product'​ ที่เกิดตามมา​เพื่อตอบโจทย์​ 'เทคโนโลยี​'​ ที่เกิดขึ้น
.
ทีนี้เมื่อ​"โทรทัศน์"เกิดแล้ว​"Product"อะไรล่ะ
ที่จะตามมา?
.
.
คำตอบคือ​ "เก้าอี้" นั่นเอง!!
.
Why​ เก้าอี้​?
เหตุผลที่ Charles และ Ray​ Eames "Focus" ไปที่เก้าอี้
ไม่ใช่เพราะรัก​ หรือแค่อยาก​ แต่มันมีเหตุ-ปัจจัย
ที่เค้าสนใจจะทำ​ เพื่อให้ตอบสนอง​ "บริบทของสังคม"
และ​ "เทคโนโลยี" ที่เกิดขึ้นพร้อมๆกัน
.
"โทรทัศน์" มันเปลี่ยน​ "บริบทของสังคม" ยังไง?
.
แน่นอนว่าก่อนมีโทรทัศน์​ เก้าอี้มีแค่เก้าอี้ทำงาน
เก้าอี้สำหรับโต๊ะกินข้าว​ ทีนี้​ เก้าอี้พวกนี้​ มักจะอยู่กับโต๊ะ​ เมื่อใช้งานเสร็จก็สอดใต้โต๊ะ​ หรือเก้าอี้สาธารณะ
ก็จะเป็นพวกเก้าอี้ยาวๆ​ ซึ่งใช้นั่งพักประเดี๋ยวก็ไป
.
ด้วยความที่ไม่ต้อง​ "นั่งนาน" ความ ​"เหลี่ยม" บาดขาบาดน่องบาดตูด ก็พอให้อภัยได้​อยู่​
ความงามก็ยังไม่ใช่เรื่องจำเป็น​ เพราะสุดท้ายเมื่อใช้งานเสร็จ​ ก็ถูกสอดเก็บใต้โต๊ะอยู่ดี
.
แต่ด้วยความที่​ "โทรทัศน์" ต้องใช้ไฟฟ้า​ ใช้ปล๊กไฟ
จึงจำเป็นต้องอยู่บนโต๊ะ​ และติดผนังอยู่ตลอดเวลา​
สิ่งที่เกิดตามมาคือ​ ห้องที่สมาชิกในครอบครัว​ มารวมตัวกัน​ เพื่อดูโทรทัศน์
.
ทีนี้เวลาคนดูโทรทัศน์ส่วนใหญ่​ เค้าไม่ได้ดูกันเป็นนาที
เค้าดูกันเป็นชั่วโมง​ ความต้องการ 'เก้าอี้ที่สวยเพราะมันจะถูกตั้งอยู่ใจกลางห้องล้อมโทรทัศน์ที่ติดผนัง อักทั้งยังต้องรองรับ Ergonormic ให้ผู้ใช้งานนั่งได้นานจนให้จบรายการ TV'​ จึงเกิดขึ้นแบบฉับพลันทันที พร้อมๆกับ Babyboom ผู้ชนะสงคราม ที่กำลังขยายตัวอย่างรวดเร็วใน America
.
ซึ่งนี่คือสิ่งที่"Charles และ Ray​ Eames "เล็งเห็น​ และตอบสนอง
.
ด้วยเทคโนโลยี​ "ไม้อัดดัด"ของพวกเค้า​ ที่สามารถสร้าง​ "Organic​ Form" ที่ตอบโจทย์​การ​"นั่งนาน"
ด้วยหลัก"Ergonomic"
.
ประกอบกับ​"ความงาม" ของเก้าอี้ที่รังสรรค์โดย
Ray​ ที่ทำให้เก้าอี้เสมือนเป็น​ "Art​ Object" ชิ้นหนึ่ง
ที่ตั้งอยู่กลางห้องได้
.
คงไม่เกินเลยไปนัก​ หากจะกล่าวว่าในช่วงเวลานั้น
นี่คือ​ "เก้าอี้​ที่ทุกบ้านจำเป็นต้องมี"

ที่มา : https://www.vitra.com/en-gr/product/lounge-chair

หลังประสบความสำเร็จจากวัสดุ'ไม้อัด'​(Plywood)​
พวกเค้ายังเดินหน้า​ทดลองวัสดุอื่นๆต่อ​ อย่างไม่หยุดยั้ง​ ไม่ว่าจะเป็น​วัสดุ​ไฟเบอร์​กลาส (Fiberglass)​ อลูมินัม​ (Aluminum)​ ภายใน Eames Office จนเกิดผลงาน Iconic อีกมากมายจาก process การทำงานแบบเดิมคือ เริ่มจากการทำความเข้าใจวัสดุอย่างถ่องแท้จนสามารถ นำเอาคุณสมบัตของวัสดุ มาใช้ประโยชน์อย่างสูงสุด เป็นความงามที่ไม่ต้องฝืน เป็นความสมดุลที่ไม่น้อยและไม่มากเกิน เป็นผลิตภัณฑ์ที่เป็นที่ต้องการและเป็นที่จดจำ จากมันสมองและการลงมือทำของ Charles and Ray Eames
.
ด้วยเหตุผลทั้งหมดที่กล่าวไว้ข้างต้น​ ส่งผลให้​ในช่วงยุคสมัย​ 25​ ปี​ Furniture ของ"Charles และ Ray​ Eames "
มียอดขายถล่มทลาย​ กว่า​ "5​ ล้านชิ้น"
.
ทั้งคู่ได้สร้างผลงาน​ 'Furniture'​ ที่เป็น​ 'Icon'​ ​แห่งยุคสมัยมากมาย​ไม่ว่าจะเป็น​ Eames Dining Chair Wood, Eames Molded Plastic Chair,​ Eames Lounge Chair​
.
สามารถเสิร์ซต่อได้ใน
https://www.eamesoffice.com/works/seating/
.
เหนือสิ่งอื่นใด​ พวกเค้าได้สร้างความเข้าใจใหม่​ๆ
ต่อสังคม​ว่า​ "นักออกแบบ" ไม่ใช่แค่ทำงานสวยๆ​ แต่คือ "นักแก้ปัญหา" ที่ต้อง
เข้าใจโจทย์​ และตอบสนอง​ ความต้องการที่เกิดขึ้นใน 'บริบทสังคม'​ และ​ 'เทคโนโลยี'​
เข้าใจธรรมชาติของวัสดุ เพื่อเอาวัสดุมาใช้ประโยชน์ให้เกิดสูงสุด
เข้าใจโครงสร้างโรงงานผลิต เพื่อที่จะออกแบบให้สอดคล้องกับการผลิตได้มากที่สุด​
.
ชวนให้คิดต่อ​ได้ว่า แล้วเราล่ะมองเห็น​'โจทย์'​อะไร
ใน'บริบทสังคม'​ และ​ 'เทคโนโลยี'​ ในปัจจุบันนี้?

ที่มา : https://www.eamesoffice.com/the-work/lcw-2/

ตัวอย่างเก้าอี้จาก​ไม้ดัด

ในยุคที่กระบวนการผลิตยังมี​ ขีดจำกัด​ ในหลายๆอย่าง เก้าอี้ชุดนี้​ ได้ก้าวข้ามขีดจำกัดของการผลิต​ เก้าอี้ไม้​เหลี่ยมๆ​แบบเดิมมา เรียกได้ว่าเป็นเก้าอี้ Eames Chairs รุ่นแรกๆที่ประสบความสำเร็จ
.
เดิมทีเป็นเก้าอี้ที่ขึ้นรูปจากวัสดุไม้อัด​ นำมาดัด​ ก่อนที่จะมีการทดลอง​ และ​ พัฒนาวัสดุมากขึ้น
.
หลังจากนั้น​เก้าอี้ชุดนี้ได้มีการพัฒนาเป็นขาเหล็กขึ้นในภายหลังทำให้น้ำหนักเบา และ​ เก้าอี้ดูโปร่งขึ้น

เก้าอี้ DCW Chair และ LCW Chair

ที่ดีไซน์เพิ่มเติมจากโครงสร้างไม้ดัดธรรมดา​ ให้มีสีสันที่หลากหลายมากขึ้น
.
ถึงแม้กาลเวลาจะผ่านไปนานถึง 50 ปี แต่เก้าอี้ตัวนี้ก็ยังมีการใช้งานในปัจจุบันได้อย่างลงตัว

ที่มา : https://www.vitra.com/es-es/product/aluminium-chair-group
https://www.eamesoffice.com/the-work/eames-aluminum-group/

ตัวอย่างงานหลังจาก Eames กลายเป็น​ ผู้เชี่ยวชาญ
วัสดุ อะลูมีนั่ม​(Aluminum)​

เก้าอี้ชุด​อะลูมีนั่ม​ ที่ผ่านการออกแบบจากวัสดุเพียง 2 ชนิด​คือโครงสร้างอะลูมิเนี่ยม​ และ​ เบาะรองนั่งเพียงชิ้นเดียว
.
ซึ่งเบาะรองนั่งเป็นส่วนประกอบที่ใช้สำหรับรับน้ำหนัก แถมยัง​ ทนทาน​ และ​ ยืดหยุ่น​ เข้ากับสรีระของผู้ใช้ได้ดีอีกด้วย

ที่มา : https://twitter.com/hermanmi.../status/974299229635178496...
https://eames.com/en/sling-seating

เก้าอี้นั่งรอในสนามบิน

เกิดจาก Eero Saarinen ต้องการที่นั่งสาธารณะ ที่มีความทนทานและบำรุงรักษาง่าย Charles and Ray Eames จึงทำตามคำแนะนำของ Saarinen ด้วยการออกแบบ Tandem Seating ออกมา
.
Tandem Seating เป็น​ Furniture ที่จะเห็นได้ภายใน สนามบิน สถานีรถไฟ หรือพื้นที่สาธารณะอื่นๆ
.
ถูกออกแบบมาให้สามารถทนต่อการใช้งาน และปรับจำนวนเบาะเป็นจำนวนเท่าใดก็ได้​ โครงสร้างหล่อจาก อะลูมีนั่ม ที่แข็งแรง กับงานเบาะหนังที่ยึดเข้ากับโครงอะลูมินั่ม

ที่มา : https://www.vitra.com/en-fi/product/eames-fiberglass-chair

ตัวอย่างงานจาก Fiberglass

เป็นเก้าอี้ที่ทำมาจาก Fiberglass ซึ่งเป็นวัสดุที่ยังไม่มีใครนำมาใช้ในการทำ​ Furniture
.
ทาง Charles and Ray Eames เป็นกลุ่มแรกๆที่นำ Fiberglass มาใช้ใน​ Furniture
.
เก้าอี้ Eames Shell Chair นำ Fiberglass มาขึ้นรูป
ให้เหมาะสมกับร่างกายของมนุษย์ เพื่อการนั่งที่ดีขึ้น และ​ ยังมีการใช้งานมาจนถึงปัจจุบัน

บ​ทส่งท้าย​

แด่​"Charles​ and Ray​ Eames"
.
"เรือใบ​ไม่อาจแล่นไกลโดย​ไร้​แรงลม"
.
ชาร์ล​ส์​ architect หนุ่ม​ ผู้ถ่องแท้ใน​'โครงสร้าง'​
ตัวแทนสมองซีกซ้าย​ "ตรรกะ"
.
Ray​ Artist​ สาว​ ผู้ลึกซึ้งใน​'ความงาม'​
ตัวแทนสมองซีกขวา​ "สร้างสรรค์"
.
อะไรจะเกิดขึ้นถ้าชาร์ลส์ และ​ Ray​ ไม่ได้เจอกัน
เรื่องราวข้างต้น​ ทั้งหมดนี้จะออกมาเป็นอย่างไร?
.
.
การทำงานร่วมกัน​ ของตัวแทนสมองทั้ง​ 2​ซีก
ตรรกะ​ - สร้างสรรค์​ นั้นเป็นสิ่งสำคัญ​
.
และอีกส่วนที่อยากจะกล่าวถึงคือ​ การมีใครสักคน​ ที่พร้อมจะร่วมทาง พร้อมแบ่งปัน​ โอบกอด​ ให้กำลังใจ​ ซับพอร์ตซึ่งกันและกัน​ ก็เป็นสิ่งที่สำคัญไม่แพ้กัน
​"บนเส้นทางสู่ฝันที่แสนยาวไกลนี้​"

ที่มา :
https://riunet.upv.es/bitst.../handle/10251/137369/Montes...
https://www.loc.gov/exhibits/eames/furniture.html https://www.loc.gov/exhibits/eames/furniture.html
https://www.eamesoffice.com/the-work/plywood-sculpture/
https://www.vitra.com/en-fi/product/eames-fiberglass-chair
https://twitter.com/hermanmi.../status/974299229635178496...
https://eames.com/en/sling-seating
https://www.vitra.com/en-es/product/eames-tandem-seating-ets
https://www.vitra.com/es-es/product/aluminium-chair-group
https://www.eamesoffice.com/the-work/eames-aluminum-group/
https://www.eamesoffice.com/the-work/lcw-2/
https://www.vitra.com/en-gr/product/lounge-chair
https://www.eamesoffice.com/works/seating/
https://www.youtube.com/watch?v=SFaLpbmP0Yw
https://www.klatmagazine.com/.../marily-neuhart-the.../43184
https://www.bidsquare.com/.../philco-predicta-tandem...
https://theculturetrip.com/.../take-your-pleasure.../

ข้อมูลโดย Pongnut Krainichakul

เรียบเรียงโดย Mailylin