Class A Solution

View Original

James Dyson (part 2) 7 ขั้นตอนพัฒนาผลิตภัณฑ์สู่ Innovation ของสุดยอดนักออกแบบผู้บดขยี้ Pain Point ให้เป็นผุยผง

"เพราะเพลงที่ดีที่สุดยังไม่ถูกแต่งขึ้น​ และหนังสือที่ดีที่สุดก็ยังไม่ถูกประพันธ์ถึง"

นั่นคือคำตอบ​ว่าทำไมต้อง​ Innovation​ หรือ​ Why​ นวัตกรรม​ !?

ดังที่​ Dyson​ เคยกล่าวไว้ว่า​สำหรับเขา​ ​Innovation คือการลงมือทำอะไรบางอย่าง​ ที่ส่งผลให้ผลิตภัณฑ์​ หรือ​ การบริการ "ดีขึ้น​อย่างชัดเจน" ซึ่งหากมองให้ลึกลงไป​คำว่า​ Innovation​ หรือ​นวัตกรรมนั้น​ มิได้ถูกยึดโยงอยู่กับเทคโนโลยี, สิ่งประดิษฐ์, หรือแวดวงการออกแบบเท่านั้น​ แต่หมายถึงทุกสิ่งที่เราทำ​ เพราะไม่ว่าคุณจะเป็นใคร​หรือทำอาชีพอะไร​ ? เราทุกคนล้วนมีผลิตภัณฑ์​และการบริการเป็นของตัวเอง​ ​!! โดยมีเจ้าของบริษัทที่ชื่อว่า​ 'เรา'​ เองนี่แหละ คุณสามารถทำในสิ่งที่คุณทำให้ดีขึ้นกว่านี้​ได้ และคุณสามารถเป็นตัวของตัวเองได้ ใน Version ที่ดีกว่า เพียงแต่คุณต้องเชื่อมั่นอย่างแรงกล้า ​ว่า​สิ่งที่ดีที่สุดยังไม่ได้ถูกสร้างขึ้น​ และคำตอบเดิม​ ๆ​ ที่มีอยู่หรือทำอยู่นั้น ยังไม่ใช่คำตอบที่ดีที่สุด​ ​!!

โลกนี้ยังมีพื้นที่สำหรับคำตอบที่ท้าทายแปลกใหม่​ และสร้างสรรค์จากคุณอยู่เสมอ​

"It's​ more fun to​ be​ a​ pirate than to​ join the​ navy"

จะมัวเป็นทหารเรือไปทำไม​ ? ในเมื่อคุณก็เป็นโจรสลัดได้​ ​แถมยังสนุกกว่าด้วย​ !!

Steve Jobs เคยกล่าวไว้


แน่นอนว่า​ Class​ A​ Solution​ เป็นบริษัท​ Research​ &​ Development (R&D)​ ที่เน้นการพัฒนา​ Product โดยใช้หลัก Design Thinking อย่างเข้มข้น ซึ่งถ้าใครอ่านบทความนี้จนจบจะเข้าใจเนื้องานของเราได้แบบไม่ยากนัก​ โดย​เนื้อหาที่เรากำลังจะนำเสนอนั้น​ ไม่ว่าคุณจะเป็นใคร​หรือคุณจะทำอะไร​ เพียงคุณสนใจใน​นวัตกรรม​ หรือกำลังหาทางทำบางอย่างให้ "ดีขึ้นอย่างชัดเจน" แล้วนั้น​ ก็สามารถเทียบบัญญัติไตรยางค์​ หรือ​ Translate​ เนื้อหาของบทความนี้ เข้ากับสิ่งที่คุณทำได้​ เพราะ

"กิ่งก้านใบแห่งนวัตกรรมนั้น​ ล้วนมาจากรากเดียวกัน"

ขอเชิญพบกับ​ที่สุดแห่งกระบวนการ​พัฒนา​ผลิตภัณฑ์​ ที่กลั่นมาจากชีวิตเลือดเนื้อ​และจิตวิญญาณ​ของ​ James​ Dyson​ สุดยอดนักออกแบบ/นักประดิษฐ์​/วิศวกรผู้เป็นตำนาน​ เรื่องราวจะเป็นเช่นไร​ขอเชิญทุกท่านร่วมดำดิ่งไปกับเราได้​ ณ​ บัด​ Now​ !!


ส่วนใครยังไม่รู้จัก Dyson​ เชิญอ่าน​ Part.1 ก่อนได้ที่ลิงค์นี้

https://www.class-a-solution.com/.../james-dyson-part-1...

Class​ A​ Solution​ ภูมิใจนำเสนอ


"Dyson​ Design​ Process​ 7​ Step​
7​ ขั้นตอนพัฒนาผลิตภัณฑ์​ สไตล์​ Dyson"

ที่มา : https://www.wsj.com/.../SB100014240527023039143045791921233

1​. Brief​

"เราไม่มีทางได้คำตอบที่ถูก​ จากโจทย์ที่ผิด"

Brief​ คือ การตั้ง​โจทย์จาก​ 'ปัญหา'​ หรือ​ 'Pain​Point'​ บางอย่างที่เราเล็งเห็น​หรือรู้สึกร่วมไปกับมัน​ ซึ่งอาจมาจากประสบการณ์ตรงคำบอกเล่าของใครบางคน​ หรือ​ Research​ ก็ได้ เพียงแต่เราต้อง​ Make​ Sure ให้ได้​ว่า​ คนอื่นก็มองสิ่งนี้เป็นปัญหา​หรือเจ็บปวดกับสิ่งนี้จริง​ ๆ​ มิใช่การมโนหรือรู้สึกไปเองคนเดียวของเรา​ !!

เพราะสิ่งนี้แหละจะเป็นตัวกำหนด Demand ตั้งแต่วันที่สินค้าหรือบริการของเรา​ยังไม่คลอดออกมา​

ดังนั้นสิ่งแรกที่เราควรตั้งคำถามคือ​ ปัญหา​ หรือ​ Pain​ Point​ นี้​มัน​ 'Mass'​ พอไหม​ ​? และปัญหานี้มัน​ 'สำคัญ'​ มากพอที่ต้องแก้รึเปล่า ?
เพราะความ Mass​ จะสัมพัทธ์กับ Demand ว่าจะมาก​หรือน้อย​ ส่วนความ 'สำคัญ'​ จะสัมพัทธ์กับ ​ของมันต้องมี​ (ปัญหานี้ต้องแก้ไข)​ หรือมีก็ดี​ (แก้ได้ก็ดี)​ หรือไม่จำเป็นต้องมี​ (จะแก้ไปทำไม(วะ)​ !!
ซึ่งแน่นอนว่า​ หากเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับ​ความเป็นความตาย​หรือการใช้ชีวิต​ มันสำคัญและมันจำเป็น​ต้องมี

ยกตัวอย่าง​เช่น​ ปัญหาการแพร่กระจายเชื้อผ่านอากาศ​ของผู้ป่วย​ Covid-19​ ที่​ Mass ระดับโลก​ ซึ่งส่งผลให้​ Demand​ ของ Mask เพิ่มขึ้นมหาศาล​ ซ้ำยัง​สำคัญมาก​ในระดับที่​จำเป็นต้องมี​ (ปัญหานี้ต้องแก้ไข)​

ส่วนความ​ Mass เป็นสิ่งที่จับต้องได้ง่าย​สามารถชี้วัดเป็นตัวเลขได้​ถ้า​ Data และวิธีเก็บ​ Data​ ถึง แต่เรื่องความสำคัญนี่สิ​ ‘ยากแท้หยั่งถึง’ ขึ้นอยู่กับว่า​สำคัญของใคร​ ​?

ที่มา : https://www.dyson.com/.../journey/troubleshooting/12157-01

https://www.dyson.co.uk/.../vacuum-cleaners/cylinders/dc08

https://www.dyson.co.uk/.../vacu.../uprights/dc07/clutchless

'ใคร'​ ในที่นี้​เราสามารถแบ่งตามประเภทของ​ Market Segmentation ได้เป็น

  • Demographic​ (ประชากรศาสตร์​)

  • Behavioral (พฤติกรรมของผู้บริโภค)

  • Geographic (ลักษณะทางภูมิศาสตร์)​

  • Psychographic (จิตวิทยา)​

**สามารถอ่านรายละเอียด Market Segmentation แบบละเอียดได้ที่ลิงค์ด้านล่างนี้ https://www.oberlo.com/blog/market-segmentation

ซึ่งกล่าวโดยสรุป​คือ


"ไม่มีผลิตภัณฑ์หรือบริการใด​ ที่สามารถ​รองรับทุกโจทย์ความต้องการบนโลกได้​พร้อมกันในทีเดียว"
นั่นคือสาเหตุหลัก​ที่ทำให้เราต้องแบ่งกลุ่มคน​ตามลักษณะเฉพาะ​ เพราะคนแต่ละกลุ่มล้วนมีปัญหา​ และความต้องการที่แตกต่างกัน​ ดังคำกล่าวที่ว่า

"คนเหมือนคน​แต่คนไม่เหมือนกัน"

สิ่งสูงค่าของคน​ ๆ หนึ่ง​ อาจไร้คุณค่าโดยสิ้นเชิงสำหรับคนอีกคนหนึ่ง​
ดังนั้น​สิ่งที่เราพอจะทำได้คือ​ จงเลือกกลุ่ม​ Target เฉพาะ​ที่เราสามารถเข้าถึงหัวจิตหัวใจ​ เข้าถึงปัญหาเข้าถึงความเจ็บปวด​หรือความต้องการ​ ที่เราสามารถตอบสนองมันได้​อย่างแท้จริง​ !!

​แล้ว​ Brief​ ที่ดีล่ะ​หน้าตาควรจะเป็นอย่างไร​ ?


"เราจะทำอย่างไรให้เครื่องดูดฝุ่น​ 'เล็ก​ที่สุด'​ เท่าที่จะเป็นไปได้​ ? "

นี่คือ​ Brief​ ของ​ Dyson​ ในวันที่เขามุ่งมั่นที่จะผลิต​ DC-012 โดยมี Target เฉพาะเป็นชาวญี่ปุ่น​ ​!!
การเลือก Target​ เฉพาะนี้​อาจเพื่อตอบแทนชาวญี่ปุ่น​ หรืออาจเพราะ​ Dyson​ เข้าถึงหัวจิตหัวใจความต้องการของชาวญี่ปุ่นอย่างลึกซึ้งก็ไม่ทราบได้​ เพียงแต่นี่คือสุดยอด​​ Brief​ ​!! ที่​ ​'เคลียร์​ชัด​และ​ซัดตรงจุด'

แล้วมันสุดยอดยังไง ?
ประเด็นแรกด้วยคำว่า​ "เล็กที่สุด" เท่าที่จะเป็นไปได้นี้​ ทำให้​ทุกคนที่มีส่วนเกี่ยวข้อง​กับโปรดักส์ ไม่เฉพาะแค่​ Designer​ แต่รวมถึง​ทีม​ Engineer​ และทีมงานคนอื่น​ ๆ​ ได้เห็นภาพและเป้าหมายที่ตรงกัน​ โดยไม่คลุมเครือและไม่ต้องตีความเป็นอื่นอีก​ !!

ตัวอย่าง​ Case​ คลาสสิค​ที่​ Designer​ แทบทุกคนต้องเคยเจอคือ​ "ทำให้มันสวย" ซึ่งพอได้​ Brief​ แบบนี้มา​ แทนที่จะเอาเวลาไปคิดงาน​ ต้องมานั่งตีความหรือเดาใจกันก่อน​ เพราะสวยของพี่​หรือของผม หรือของ​ User​ ​ก็คงไม่เหมือนกัน​ จริงไหม​ ​!?

ที่มา : https://drinkinginjapan.net/tag/room-setup/
https://www.butsuyoku.net/review/dc12/

ประเด็นต่อมาคำว่า 'ซัดตรงจุด'​

ถ้าใครเคยไปญี่ปุ่นจะรู้เ​ลยว่า​ บ้านมันเล๊กกกก​ เล็กแบบเข้าห้องน้ำปิดประตู​ นั่งชักโครก​แล้วอีกคืบหนึ่งเข่าสะกิดประตู​ !! ก็ลองจินตนาการดูว่าห้อง​อื่น​ ๆ​ จะเหลือพื้นที่ขนาดเท่าไร ? ครั้นจะมีเครื่องดูดฝุ่นขนาด 'บักเอ้ก' ​สักเครื่อง​ ​เพื่อความสะดวกสบายก็ต้องมานั่งกังวลใจอีก​ว่า​ วาตาชิวะหรือข้าพเจ้าจะเก็บมันไว้ตรงไหนดี​ !?

ความเล็กของพื้นที่นี้​เป็นปัญหาระดับชาติ​ของญี่ปุ่น​ !! ซึ่งถ้าใครไม่เข้าใจปัญหา​ Pain​ Point​ หรือความเจ็บปวดนี้​ ก็โบกมือบ๊ายบาย​ซาโยนาระตลาดญี่ปุ่นได้เล​ย​ ถามว่า​การเจาะจง Target เฉพาะแค่ชาวญี่ปุ่นมันไม่แคบไปเหรอ​ ? ต้องขอบอกว่า เพียง​ 'ตลาดญี่ปุ่น'​ ก็มีศักยภาพมากพอ​แล้ว

และจริง ๆ แล้ว Target แท้จริง ที่ซ่อนอยู่ภายใต้คำว่าญี่ปุ่น​ คือทุกประเทศที่มีปัญหาเรื่องขนาด

'ความเล็กของพื้นที่'​

ดังนั้นถ้าเจาะตลาดญี่ปุ่นได้จริง​ ประเทศอย่างไต้หวัน, ฮ่องกง, เกาหลี, หรือประเทศใด​ ๆ​ ที่มีปัญหานี้​ ก็ต้องเสร็จ​ Dyson​ ด้วยเช่นกัน​ !!


"เมื่อคุณเข้าใจอย่างแท้จริง​ คุณจะสามารถอธิบายมันด้วยภาษาแบบ​ง่าย​ ๆ​ ได้"

ในความเรียบง่ายนั้น​มีความลึกซึ้งซ่อนอยู่เสมอ​ ดั่งตัวอย่าง​ Brief​ ของ​ Dyson​ ที่​เคลียร์​ชัด​และซัดตรงจุด ซึ่งความเคลียร์ชัดนี้​เกิดจากการเลือกใช้​คำ​ที่ทำให้​ เห็นภาพ​ อย่างคำว่า​ 'เล็กที่สุด' หรือการใช้คำว่า​ญี่ปุ่น เพื่อแสดงให้เห็นภาพของปัญหา​ประเทศที่มี 'พื้นที่ขนาดเล็ก'​ ได้อย่างชัดเจน ส่วน​การ 'ซัดตรงจุด'​ นั้น ​เกิดจากการเลือกที่จะแก้ปัญหา​ หรือ​เลือก Pain​ Point​ ที่เป็นหัวใจสำคัญออกมา ​เพียงแค่​ประเด็นเดียว​


ท้ายสุดในหัวข้อ Brief นี้ เราขอเน้นย้ำว่า ‘สิ่งที่น่ากลัวที่สุด’ จากการตัดสินใจเลือก Brief ที่ผิดนั้นเหมือนการพยายามเข็นครกขึ้นภูเขาจนสำเร็จ.. แต่ดันผิดลูก​ !!

'เราไม่มีทางได้คำตอบที่ถูก​ จากโจทย์ที่ผิด'

ที่มา : https://www.thesun.ie/.../so-poor-bagged-billions-sir.../

2.​ Research

Research​ สำหรับ​ Dyson​ คือ​การค้นหากุญแจที่ชื่อว่า 'ข้อมูลเฉพาะ'​​ ที่จะช่วยให้เราสามารถพิชิตโจทย์หรือ​ Brief​ ที่เราตั้งไว้ได้

โดยกุญแจ​หรือ​ 'ข้อมูลเฉพาะ'​ นี้จะแตกต่างกันไป​​ ขึ้นอยู่กับโจทย์​หรือ​ ​Brief​​ และผันแปรตามผลิตภัณฑ์หรือการบริการของเรา​ แม้เป็นโปรดักส์เดียวกัน​แต่ถ้าโจทย์​หรือ​ Brief​ ต่างกัน​ ก็ต้องการ​ 'กุญแจ'​ ที่แตกต่างกัน​เหมือนในช่วงแรกโจทย์ของ​ Dyson​ ที่จะสร้าง​ Cyclone​ ในพื้นที่ขนาดเล็ก​ กับ​โจทย์​ที่จะสร้าง​เครื่องดูดฝุ่นที่เล็กที่สุด​ แม้เป็นเครื่องดูดฝุ่นเหมือนกัน​ แต่โจทย์ต่างกัน ก็ย่อมต้องการกุญแจ​หรือชุดข้อมูลเฉพาะที่แตกต่างกัน

ประเด็นคือเราต้องรู้ให้ได้ว่า​ 'ข้อมูลเฉพาะ'​ ชุดใดที่ส่งผลที่สุดต่อ​โจทย์ของเรา​ หรือพูดอีกอย่างคือ

​"เราต้องรู้ว่าเรากำลังหากุญแจอะไรอยู่​ ​? "


อย่างในกรณีของ​ Dyson​ โจทย์​ความเล็กที่สุดของเครื่องดูดฝุ่น​นั้น​ กุญแจสำคัญอยู่ที่​ 'เทคโนโลยี'​ ต่อให้​ Sketch Design Form​ หรือปรับฟังค์ชันการใช้งานใด​ ๆ​ ก็ตาม​ ท้ายสุด​มันจะเล็กลงไม่ได้เล​ย​ ถ้าขนาด​หรือเทคโนโลยีมอเตอร์ที่ใช้​ มันยังใหญ่เท่าเดิมอยู่ นี่คือโจทย์​หรือข้อจำกัด​เฉพาะ​ นี่คือชะตาที่มิอาจเลี่ยงของ​ Dyson​ เพราะ​ 'เทคโนโลยี' คือตัวแปรสำคัญ​ที่ขวางกั้นเป้าหมาย เรื่องการทำเครื่องดูดฝุ่นให้เล็กของเขาอยู่​

ดังนั้นสิ่งที่​ Dyson​ มองหาเพื่อบรรลุโจทย์ของเขา​ จึงไม่ใช่การ​ Research​ โดยการสอบถามข้อมูลจาก​ User​ แบบคนอื่น​ ๆ​ (สอบถามก็ไม่ผิดนะถ้ามันคือกุญแจที่จำเป็นต้องใช้ในการตอบโจทย์)​ แต่คือการ​ ​Focus เทคโนโลยี​ที่เขามีในมือ​ หรือการตามหาเทคโนโลยี​ใด​ ๆ​ ก็ตาม​ที่จะสามารถบรรลุโจทย์หรือ Brief ที่เขาตั้งไว้ได้​ !!

ที่มา : https://www.pinterest.com/pin/638807528374058863/

ซึ่งพอ​ Brief​ ของ​ Dyson​ เคลียร์​ชัดขนาดนี้​ ทุกคนในทีม​ต้อง​ร่วมกันค้นหากุญแจ​ หรือ Research​ ข้อมูลเฉพาะว่า​ 'เทคโนโลยีทั้งหมดที่มีบนโลกนี้'​

  • การจะทำให้เครื่องดูดฝุ่น​เล็กลงมีอะไรบ้าง​?

  • มีอะไรได้อีก​?

  • Core เทคโนโลยีของเขาคืออะไร​ ?

  • ยังขาดกุญแจดอกไหน​อีก​เพื่อที่จะไขประตูบานนั้น​?

นี่เป็นสิ่งที่ทีมวิจัยมอเตอร์, แบตเตอรี่, หรือทีมวิจัยหลังบ้านใด​ ๆ​ ของ​ Dyson​ ต้อง​รับไม้​ Research​ ต่อ และถ้า​ Research​ สืบค้นจนพบว่า​ ไม่มีกุญแจหรือข้อมูลเฉพาะของเทคโนโลยีใด​ ๆ​ บนโลกนี้​ ที่จะบรรลุโจทย์ข้อนี้ได้ Dyson​ และทีม​ก็จะร่วมกันสร้างข้อมูลเฉพาะ​ หรือ​กุญแจดอกใหม่นี้ขึ้นมาเอง​ !!

ซึ่งท้ายที่สุดกุญแจดอกที่ว่านี้​ Dyson​ และทีมใช้เวลาในการสรรค์สร้าง​ร่วมกันหลายสิบปี​ และเมื่อสำเร็จ​มันยิ่งใหญ่สะเทือนวงการ​ ถึงขนาดมีคนขนานนามว่า​ นี่คือ​ "Alien Technology" หรือเทคโนโลยีที่ไม่น่าเชื่อว่า​สิ่งมีชีวิตบนโลกจะสร้างขึ้นได้​ ​!! ซึ่งเราจะกล่าวถึง​ใน​ ​Dyson พาร์ทต่อ​ ๆ​ ไป

ที่มา : https://www.yatzer.com/Dyson-Air-Multiplier-fan

3.​ Idea​ Development

Idea​ Development​ คือการหาทางพิชิตโจทย์​ หรือ​ Brief​ ที่ตั้งไว้​ด้วย​ 'กระบวนการทางการออกแบบ'​

ซึ่งเป็น​หน้าที่ของทุกคนในทีมพัฒนาผลิตภัณฑ์ ที่ประกอบด้วย Engineer และ Designer เป็นผู้รับผิดชอบหลัก

Dyson​ ได้กล่าวว่า​จุดนี้​เป็นจุดที่​ Studio ของ​เขาแตกต่างจากที่อื่นอย่างชัดเจน​ ​ในขณะที่​ Studio​ อื่น​ ๆ​ ต้องการเห็นความสวยงามของ​ตัวโปรดักส์​ก่อน โดยทุ่มกองกำลัง​ Design​er​ ไปรุมสร้าง Beautiful Sketch แต่​ Dyson​ จะไม่สนใจเรื่องความสวยงามเลย​ ช่างแม่มความสวย​ (ยัง)​ไม่จำเป็น​ !!

แน่นอน​ว่า ​'ความสวยงาม'​ เพื่อความน่าใช้ก็เป็น Function หนึ่ง​ที่จำเป็น​ เพียงแต่​ ‘คุณค่า’ ที่แท้จริงของผลิตภัณฑ์นั้น ​อยู่ที่​ Function​ การใช้งานมิใช่หรื​อ​ ? ถ้ามันสวยน่าใช้แต่ใช้งานไม่ดี​ หรือสวยน่าใช้แต่​ตอบโจทย์การใช้งานของเราไม่ได้​ ถามว่าคุณจะเสียเงินซื้อมันเพื่อ​ ?

ในหลาย ๆ Case เราพบว่า นี่คือ​ 'กับดัก'​ ที่ชื่อว่า​ความสวยงาม​ ที่มักทำให้ลูกค้าหลงประเด็นจากโจทย์​หรือ​ Brief​ ที่ตั้งใจไว้อยู่เสมอ​ และถ้าโจทย์หลักในผลิตภัณฑ์ของคุณ​ไม่ใช่เรื่องความสวยงาม คุณจะมัวเสียเวลาทำให้มันสวยงามไปเพื่ออะไร​ ?


บทพิสูจน์หนึ่งของเรื่องนี้อยู่ใน​บทความ​ Blobject​ ของ​ Karim​ Rashid​ ที่เราเคยนำเสนอ​ไป อะไรจะเกิดขึ้นเมื่อ​ Form​ ไม่​ยอม Follow Function ​บทสรุปของความสวยงามสุดโต่งที่เกินหน้า​การใช้งานคืออะไร​ ?

**อ่านต่อได้ที่ลิงค์ด้านล่างนี้**
https://www.class-a-solution.com/blog/karim-rashid-

ที่มา : https://twitter.com/foundationd.../status/975777418861535232

อย่าง Brief​ นี้​ถ้า Dyson ต้องการให้มันเล็ก​ ​เล็กที่สุด​เท่าที่มันจะเล็กได้​ ​!! และถ้าเล็กที่สุดในโลกมันได้ประมาณนี้​ ในฐานะขุนพล Designer​ และ​ Engineer​ ของ​ Dyson ​จงทำยังไงก็ได้​ให้เครื่องดูดฝุ่นนี้มันเล็กลงได้อีก​ ​!! โดยทุกคนที่ทำงานใน​ทีมของ​ Dyson​ จะได้รับสมุดบันทึก​ RDD (Research​ Design​ Development) ​เพื่อบันทึกทุก Idea​ บันทึกทุก ‘ความน่าจะเป็น’​ ที่อาจนำไปสู่การตอบโจทย์​ Brief​ ที่ได้รับมา​ (ทุก​ Idea​ ที่อยู่ในสมุดบันทึกนี้​ Dyson​ ถือเป็นความลับของบริษัท)​

ทั้งนี้ข้อจำกัดในการ Sketch ให้เล็กจะถูก​ Fix โดยเทคโนโลยีในขณะนั้น​ เช่นขนาดของมอเตอร์​ที่เล็กที่สุด​เท่าที่ใช้งานแล้วยังเวิร์คมันเล็กได้เท่านี้​ หรือเส้นผ่านศูนย์กลางของท่อดูดที่เล็กสุด​ สั้นสุดแล้วยังดูดได้ Flow มันได้ประมาณนี้​

นอกเหนือจากนั้น​ Form​ ตำแหน่งการจัดวาง​ พาร์ท​และฟังค์ชันการใช้งานต่าง​ ๆ​ จะถูกพัฒนาโดยพุ่งเป้าไปที่​ ทำอย่างไรให้เล็กลงได้อีก​ มีอะไรตัดออกได้​ มีอะไรซ่อนได้​ ก็จะเป็นสิ่งที่ทุกคน​ในทีมต้องร่วมกันค้นหาคำตอบที่ดีที่สุดออกมา

ที่มา : https://www.pinterest.co.uk/pin/223913412695945931/

และที่สำคัญคือ Sketch ไม่ต้องเสียเวลามาก​ เอาคร่าว​ ๆ​ พอ​ให้เห็น​ Idea​ แล้วจงรีบไป​ทำ​ Prototype​ ขึ้น​ 3D สร้าง​โปรดักส์แล้ว​ Test กัน​ !! เพราะท้ายที่สุด​ Prototype​ ต้นแบบที่ออกมา​ จะแสดงให้เห็นถึงปัญหา​ของแบบ​ Sketch ที่เราไม่สามารถจะรู้ได้เลย ถ้ามันอยู่แต่ในกระดาษ​ หรือบนหน้าจอคอม

นี่คือวิธีการ​ Sketch ที่ดีที่สุดที่ Dyson​ 'เชื่อมั่น'​ และนำมาใช้ เหมือนในวันแรกที่เขาทำ Prototype​ เครื่องดูดฝุ่นแบบง่าย​ ๆ​ ด้วยกระดาษลัง และยังทำมาอยู่จนถึงทุกวันนี้

ที่มา : https://www.bbc.com/news/technology-36111742

4.​ Specification

Specification​ หลัก​ ๆ​ จะเป็นการคุยสรุป​เพื่อ​ 'ระบุ​ตัวเลข'​ ให้ได้มากที่สุด​หลังจากได้ข้อมูลและ Idea มาแล้วเพื่อให้การพัฒนาผลิตภัณฑ์เดินไปข้างหน้าอย่างชัดเจน​ และเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น

การระบุตัวเลขนี้เปรียบเสมือนดั่งชิ้นส่วนของตัวต่อ​ 'จิ๊กซอว์'​ ที่จะค่อย​ ๆ​ เผยให้เห็นภาพโปรดักส์จริงของเราทีละนิด

หลักการคือเราต้อง​ 'ระบุตัวเลขจริง'​ ให้ได้ก่อนสัก​ 1​ ตัวเลข​ เพื่อเป็นตัวตั้งต้นให้เรานำไปคิดต่อในส่วนอื่น​ ๆ เหมือน​จิ๊กซอว์ ที่พอเราวางลงไป​ 1​ ชิ้น​ เราจะเริ่มเห็นภาพชิ้นส่วนอื่น ๆ ที่จะประกอบอยู่รอบ​ ๆ​ ด้วยเช่นกัน การ 'ระบุตัวเลขจริง'​ นี้อาจอิงจากคู่แข่งในตลาด​ หรืออิงจากความจำเป็นในการใช้งานของ​ User​ หรืออิงจากข้อจำกัดอื่น​ ๆ​ ที่จำเป็นก็ได้ เช่น การระบุ​ตัวเลข​ Performance ของเครื่องดูดฝุ่นว่าควรมีอายุในการใช้งานกี่ปี​ ?

ที่มา : https://www.bestbuy.ca/.../dyson-official-outlet.../13835639

สมมุติ​เครื่องดูดฝุ่นนี้ต้องใช้งานได้ 10​ ปี​ ด้วยเหตุผลทางการตลาด​หรือเหตุผลใด​ ๆ​ ก็ตาม​ เราก็จะรู้แล้วว่า อายุมอเตอร์ก็ต้องใช้งานได้ถึง 10​ ปี​ด้วยเช่นกัน​ และเรายังนำตัวเลขที่ถูกระบุนี้​ไปคิดต่อในส่วนอื่น​ ๆ​ ได้อีก เช่น​ ถ้า​เครื่องดูดฝุ่นนี้อายุ​ 10​ ปี​ 'ถังเก็บฝุ่น'​ ต้องถูกถอดเข้า-ออก​กี่ครั้ง​ตลอดอายุการใช้งาน ?​ ในการคำนวนนี้เราต้องเผื่อ​ Use​ Case แบบโหด​ไปเลย เช่น

สมมุติคุณแม่บ้าน​ ๆ​ หนึ่งที่​รักความสะอาดมาก​กก ดูดฝุ่นทุกวัน​ วันละ​ 2​ รอบ​ และหนึ่งสัปดาห์ต้องถอดถังออกไปเคาะ 3 ครั้ง เท่ากับ​หนึ่งปี​ 'ถังดูดฝุ่น' จะถูกถอดออกมาทิ้ง​และใส่กลับ​ประมาณ 160 ครั้ง​ หรือ​เท่ากับ 10​ ปี​ 1,600 ครั้ง​ !! ตลอดอายุการใช้งาน​ก่อนที่เราจะนำตัวเลข​ 1,600 ครั้งนี้​ ไประบุ​ 'กลไก'​ ที่จำเป็นต้องใช้ในการถอดเข้า-ออก​ รวมถึง​ระบุเกรดพลาสติกที่ต้องใช้​อีก​

ซึ่งเกรดพลาสติกที่ต้องใช้เพื่อรองรับการใช้งาน​ให้ได้ถึง 1,600​ ครั้ง​ก็จะเป็นราคาหนึ่ง​ หรือถ้าน้อยกว่านั้นพลาสติกไม่ต้องทนมาก​ ก็จะถูกลงเป็นอีกราคาหนึ่ง

ด้วยวิธีคิดนี้เราจะได้เห็น​ตัวเลข ‘ต้นทุน’ ที่จะเกิดขึ้น ซึ่งพอไปรวมกับพาร์ทอื่น​ ๆ​ ของโปรดักส์​ ใน​ Conditions ที่หลากหลาย​ เราจะได้​ 'ราคา'​ ของโปรดักส์แบบคร่าว​ ๆ​ เพื่อประกอบการตัดสินใจในขั้นตอนต่อไป

ที่มา : https://www.gazetteandherald.co.uk/.../15494112.dyson.../

การ​ระบุตัวเลขนี้ยังสามารถใช้ระบุ 'ขนาด'​ ได้ด้วย​ เช่น​ขนาดมอเตอร์​ หรือ​ขนาดของโปรดักส์เมื่อพับเก็บสายต้องอยู่ในกล่องขนาดพื้นที่​ 20x20x20​ Cm ได้เป็นต้น

นอกจาก​ต้องระบุตัวเลขทุกตัวเลขที่เกี่ยวข้องกับโปรดักส์แล้ว​ การระบุ​ 'ภาพลักษณ์'​ ของโปรดักส์​ก็อยู่ในขั้นตอนนี้ด้วย​ เช่น​ การระบุว่าหน้าตาตอนจบ​ของโปรดักส์ Form Factor ที่น่าจะเป็น หรือ​ระบุภาพลักษณ์ของมันว่า ควรสื่อสาร​ออกมาในทิศทางไหน ​เป็นต้น

นี่คือความสำคัญและความน่าอัศจรรย์​ของ​ขั้นตอน Specification​ ที่พอเราค่อย​ ๆ​ ต่อ​ชิ้นส่วน 'จิ๊กซอว์ตัวเลข'​ มันจะค่อย​ ๆ​ เผยภาพโปรดักส์ที่จะเกิดขึ้นจริงให้เราเห็น และที่สำคัญที่สุด​ ​คือภาพตัวเลข​ 'ราคา'​ ที่จะขายพร้อมต้นทุนคร่าว​ ๆ​ ที่จะไปเคาะตัวเลขชัด​ ๆ​ อีกทีในขั้นตอนต่อไป​ ซึ่งตัวเลขพวกนี้บอกได้เลยว่าจะเป็นตัวกำหนด 'ชะตาชีวิต'​ Product ของเรา..

ที่มา : https://www.bbc.com/.../20130312-failure-is-the-best...

5.​ Chosen Idea

Chosen Idea​ คือขั้นตอนชี้เป็นชี้ตายของโปรดักส์​ ​!! เพราะต้อง 'ตัดสินใจ'​ เลือก​ว่า​ Idea​ ไหนควรทิ้ง​ และ Idea​ ไหนที่จะได้ไป​(พัฒนา)​ต่อ​ ​หรือในกรณีเลวร้ายที่สุด​คือ​ต้องยุบโปรเจคทิ้ง​ ​!!

โดยการตัดสินใจครั้งสำคัญนี้​ต้องคำนึงถึงต้นทุน Product​ ที่เราจะขายอย่างรอบคอบ​ คำนึงถึงเทคโนโลยี​ที่ต้องเลือกใช้ในการผลิต​ ซึ่งก็ต้องมา บวก​ ลบ​ คูณ​ หาร​ ว่ามันจะออกมา​ 'ราคา'​ เท่าไร ? และ​ 'ราคา'​ ขายที่เคาะออกมา​แล้ว มันสมเหตุสมผล​มากพอ​ที่ลูกค้าจำเป็นต้องควักเงินซื้อ​เจ้าสิ่งนี้​ เพื่อแก้ปัญหาของพวกเขาไหม​​ ?

แน่นอนว่าในการตัดสินใจครั้งสำคัญนี้​ เราจำเป็นต้อง​เห็น​ Prototype​ ต้นแบบเพื่อประกอบการตัดสินใจด้วย​ ซึ่งในสมัยก่อนกว่าจะเห็​น​ Prototype​ ต้นแบบได้​ เราอาจต้องใช้เงินถึงหลักล้าน​ !! เพื่อสร้างแม่พิมพ์ ที่พอฉีดพลาสติกได้ต้นแบบออกมา​ แล้ว​พบว่ามัน​ Fail​ นี่ลมแทบจับ​ซึ่งต่างจากสมัยนี้


ปัจจุบันคือยุคสมัยที่ Dyson​ กล่าวว่า​ "มันบ้ามาก" เพราะหากย้อนไปในยุคเริ่มต้น ที่เขาใช้กระดาษลัง​ประกอบเข้ากับเครื่องดูดฝุ่น​ เพื่อสร้าง​ Prototype​ ต้นแบบแล้วนั้น

ในยุคนี้​ด้วยเทคโนโลยี​ Rapid Prototype​ ​(RP)​ ที่ ​Dyson​ ใช้ Program Siemen NX ​เขียนแบบ​ ก่อนส่งเข้าเครื่อง​ 3D​ Printer ในระบบ SLS (Selective Laser Sintering) โดยใช้เทคนิค Slice File ชิ้นงาน 3D ที่ออกแบบให้แยกออกเป็นชั้น​ ๆ ก่อนยิงแสงเลเซอร์ใส่ผงวัสดุพลาสติกที่อยู่ในถาดตามแบบ 3D ที่ส่งเข้ามาจนกลายเป็นชิ้นงาน​ !! เพียงเท่านี้เราก็จะได้เห็น​ Prototype​ ต้นแบบ​ภายในเวลาเพียง​ 1-2 วัน​ แถมประหยัดงบในการสร้างแม่พิมพ์ได้มหาศาล

ด้วยเทคโนโลยีนี้​ Dyson​ สามารถให้ทีม​ Develop ทั้ง​ 6​ ทีม​พัฒนา​ 6​ Idea​s ไปพร้อม​ ๆ​ กัน​โดยไม่ต้องกังวล​ว่าจะเสียเวลา​ และเปลืองเงินทุนในการสร้าง​ Prototype​ ต้นแบบเหมือนในสมัยก่อนอีกต่อไป​ และเมื่อได้เห็น​ Prototype​ ต้นแบบที่หลากหลาย​ ประกอบการคำนวนต้นทุนอย่างถี่ถ้วนแล้ว​ ก็ถึงเวลาที่ต้อง​ตัดสินใจสักที ว่าจะไปต่อ​หรือพอแค่นี้​ ?

ที่มา : https://kodungmovie.com/movies/saw-2004/

ในภาพยนต์​เรื่อง​ 'Saw'​ ภาค​ 1​ ในห้องน้ำร้าง​มีชาย​ 2​ คน​ถูกโซ่ล่ามไว้ที่ข้อเท้า​ ใกล้ตัวมีเลื่อยขึ้นสนิมเกรอะกรังวางอยู่​ พวกเขาต้องเลือก​ว่า​จะมีชีวิตอยู่ต่อโดยยอมตัดข้อเท้าทิ้ง​ หรือตายพร้อมกับข้อเท้าที่ยังคงอยู่ ซึ่งไม่ต่างอะไรกับ​การ​ Chosen Idea​ ที่ใน​ 'บางครั้ง'​ เราต้องเลือกว่า​ จะยอมตัดโปรเจคทิ้ง​(ยอมเสียงบพัฒนาที่จ่ายไปทั้งหมด)​ หรือ​เสี่ยงไปต่อ​โดยมีอนาคตของบริษัทแขวนอยู่​

แน่นอนว่า นี่ไม่ใช่การตัดสินใจที่ง่ายเลย และถึงแม้​ Dyson​ จะเป็นบริษัทระดับโลก​ แม้ในทุก​ Product​ จะผ่านการคิดค้นและพัฒนาจนถึงขีดสุด​ แต่ก็ไม่ใช่ทุก​ Product​ ที่จะประสบความสำเร็จ.. มีหลายครั้งที่​ Dyson​ 'เจ็บหนัก'​ จากการตัดสินใจฝืนที่จะไปต่อ​ และมีหลายครั้ง​ที่เขา​ต้องยอมตัดโปรเจคทิ้ง​ เพื่อจำกัดความเสียหายที่จะเกิดขึ้นในภายหลัง


อย่างในกรณีของ​เครื่องดูดฝุ่นอัตโนมัติ​ DC-06 Robotic Vacuum Cleaner ที่ถูกพัฒนามาในช่วงปี 2000 ก็ต้องถูกยุบโปรเจคทิ้งในขั้นตอนนี้​ เพราะเคาะราคาสุดท้ายออกมาแล้ว​ 'มันเกินรับไหว'​และมันก็ไม่เคยได้ถูกเอาไปวางขายในตลาดเลย

ด้วยเหตุที่​ DC-06​ Robotic นี้​โจทย์หลักคือ​ Sensor ต้องทำงานตรวจจับเข้าถึงได้ทุกพื้นที่​ ซึ่งมันทำได้นะ​แต่เทคโนโลยีนี้มันแพง​เกินจะรับไหว​ และถ้าจะให้มันถูกลง​ประสิทธิภาพ​ก็จะไม่ตอบโจทย์การใช้งานที่ตั้งไว้​อีก..

จากบทเรียน​โดยตรงของ​ Dyson​ ทำให้เขาเรียนรู้ว่า​ ถ้า​ 'ราคา'​ มันไม่ใช่​แม้​ Product​ จะดีแค่ไหนมันก็ยากที่จะขายได้สำเร็จ​ แต่ในขณะเดียวกันถ้า​ Product​ ชิ้นนั้น​ มัน​ 'ดีเยี่ยม' และเต็มเปี่ยมไปด้วยพลังแห่งนวัตกรรม !! เหมือนเครื่องดูดฝุ่น G-Force ที่วางขายครั้งแรกในสมัยนั้น

ที่สุดท้ายถึงแม้มันจะแพง​ แต่ผู้คนก็จะยอมควักเงินจ่าย​ เพื่อซื้อชีวิตที่จะ​ 'ดีขึ้นอย่างชัดเจน'​ อยู่ดี

ที่มา : https://www.forbes.com/.../inside-dysons-research-and.../...

6.​ Product​ Development​

Product​ Development​ คือขั้นตอนการ 'พัฒนาโปรดักส์'​ ที่ผ่านการตัดสินใจมาแล้วอย่างเข้มข้น ​โดยมีหมุดหมายสำคัญอยู่ที่​ การทำยังไงให้โปรดักส์ชิ้นนี้​มันดีขึ้นไปอีก ​!! ​และที่สำคัญ คือต้องผลิตจริงได้ด้วย​

ด้วยเทคโนโลยีที่เหมาะสม​และราคาที่เหมาะสม แน่นอนว่า​โดยรวม​ Product​ ที่มาถึงขั้นนี้ได้มันต้องดีในระดับหนึ่งแล้วล่ะ​ การ​ Develop จึงหมายถึงการพัฒนาปรับเปลี่ยนรายละเอียดยิบย่อยในแต่ละจุด​ ซึ่งอาจฟังดูเล็กน้อย​ แต่ถ้าคุณเชื่อในประโยคที่ว่า​ "พระเจ้าอยู่ในรายละเอียด" !! เหมือนชื่อหนังสือ​ที่เล่าถึงปรัชญาการทำงานของ​ MUJI​ แล้วล่ะก็

นี่คือเส้นบาง​ ๆ​ ที่ยากจะข้ามผ่าน​ นี่คือขั้นตอนสำคัญที่จะนำพา​ Product​ ที่ดี​ไปสู่คำว่า Product​ ที่​ 'ดีเยี่ยม'​ ก็ด้วยขั้นตอนนี้แหละ​ !!

ที่มา : https://noveltystreet.com/dyson-supersonic-hair-dryer

เคยได้ยินคำว่า​ Plus​ Minus​ ( ± )​ ในการเขียนแบบไหม​ ​?

Plus​ Minus​ คือ ตัวเลขเผื่อ​ 'คลาดเคลื่อน'​ เช่น​ สมมุุติเราเขียนแบบน็อตตัวหนึ่ง​ ระบุขนาดไว้​ 5​ mm (±1)​ นั่นแปลว่า พอผลิตจริง​ขนาดของน็อตสามารถ​คลาดเคลื่อนเป็น​ 4​ mm​ หรือ​ 6​ mm​ ก็ได้​ และสิ่งหนึ่งที่ทำให้ไดร์เป่าผมของ​ Dyson​ 'ดีเยี่ยม'​ กว่าไดร์เป่าผมอื่น​ ๆ​ คือ​ประสิทธิภาพของลม​ ที่เกิดจาก​ขนาดของใบพัด​ที่​ Fit in กับ​ 'ท่อ'​ แบบ​ Plus​ Minus​ Zero (± 0)​ เมื่อ​ใบพัด​ Fit in​ กับ​ 'ท่อ'​ แบบเป๊ะ​ ๆ​ สิ่งที่เกิด​ คือลมที่ส่งออกมาจะไม่เกิดการตีย้อนกลับ​ เพราะไม่เหลือช่องว่างให้ย้อนกลับ​ นี่คือการส่งลมที่เต็มประสิทธิภาพที่สุด​เท่าที่จะเป็นไปได้

ประเด็นอยู่ที่ 'ใบพัด'​ ถ้าผลิต​แบบ​ Mass ในระบบโรงงานมันจะเกิดความคลาดเคลื่อนเสมอ​ อาจเล็กบ้างใหญ่บ้างตามกระบวนการผลิต​ ซึ่งถือเป็นเรื่องปรกติ​
ประเด็นต่อมาคือ​ ถ้าใบพัดเล็ก​มันจะเกิด 'ช่องว่าง'​ ที่ทำให้ลมตีย้อนกลับ.. หรือถ้าใหญ่ไป ก็จะใส่ท่อไม่ได้..

นี่คือข้อจำกัดที่เกิดจากกระบวนการผลิต​ ที่นักออกแบบ, บริษัท, หรือโรงงาน​ต่างก้มหน้ายอมรับ แต่ข้อจำกัดนี้ใช้ไม่ได้กับชายที่ชื่อว่า​ Dyson​ ..

ที่มา : https://www.dysoninstitute.com/.../the_dyson_institute...

วิธีการเดียวที่จะสร้างใบพัดที่​ Fit​ In​ แบบ​ (± 0) ได้คือการ​ CNC (Computer Numerical Control)​

ในวิธีการผลิตแบบ​ Mass​ จะใช้วิธีฉีดพลาสติกลงแม่พิมพ์​ ซึ่งแน่นอนว่ามันได้ในเรื่องของจำนวน​ แต่การ​ CNC​ นั้น​ ใช้วิธีการแบบ​ 'แกะสลัก'​ ซึ่งแน่นอนว่ามันได้ในเรื่องของความเป๊ะ​ แต่มันผลิต​แบบ​ Mass​ ไม่ได้.. เพราะ​มันต้อง​แกะสลักแบบ 'ชิ้นต่อชิ้น'​ เรียกได้ว่าสิ้นเปลืองทรัพยากรมหาศาล​ ทั้งในเรื่องของเวลา​ทั้งในเรื่องของเงินทุน​ หรือพูดแบบบ้าน​ ๆ​ คือ​คนปรกติ​เขาไม่​ทำ​ CNC​ ในโปรดักส์แบบ​ Mass​ กันหรอก และแน่นอนว่า​ Dyson​ ไม่ใช่คนปรกติ​(ชม)​ !! ในท้ายที่สุดเขาและทีมก็คิดค้นหาวิธีทำ​ CNC ให้​ Mass​ จนได้​ !! (ซึ่งเราไม่ขอลงรายละเอียดในตอนนี้)​

นี่คือตัวอย่างเหตุผลหนึ่ง​ ที่ทำให้​ไดร์เป่าผม​ของ Dyson​ 'ดีเยี่ยม'​ กว่าไดร์เป่าผมอื่น​ ๆ​ และหากมองให้ลึกลงไป​ นี่คือหลักฐานที่ชัดแจ้งที่สุด​ของประโยคที่ว่า​

"พระเจ้าอยู่ในรายละเอียด"

และนี่แหละคือเส้นบาง​ ๆ​ ที่ยากจะข้ามผ่าน​ที่เราพูดถึง​ นี่คือขั้นตอนสำคัญที่จะนำพา​ Product​ ที่ดี​ไปสู่คำว่า Product​ ที่​ 'ดีเยี่ยม'​ ก็ด้วยขั้นตอนนี้แหละ​ !!

ที่มา : https://welovebudapest.com/.../budapest-rooftop-cinema...

ไม่ต้องสงสัยเลยว่า​ทำไม​ Dyson​ ถึงล้มเหลวถึง​ 5,126 ครั้ง​ !! อันที่จริงเขาอาจทำเครื่องดูดฝุ่น​ระบบ​ Cyclone ​สำเร็จตั้งแต่ครั้งที่​พันกว่า​ ๆ​ แล้วก็เป็นได้​ เพียงแต่ถ้ามันยังไม่สุด ​ถ้ามันยัง​ Develop ให้ดีขึ้นกว่านี้ได้อีก​ Dyson​ จะไม่ยอมปล่อยผ่านโดยเด็ดขาด​ !!

ประโยคจาก​หนังเรื่อง​ Whiplash​ ที่ครูสอนดนตรีหัวรุนแรงคนหนึ่ง​ เขวี้ยงฉาบเหล็กใส่หน้าลูกศิษย์​เพียงเพื่อจะ​ 'กระตุ้น'​ ให้เขา​ตีกลองได้ดีขึ้น​ !! ได้กล่าวไว้ (ดีที่ลูกศิษย์ซึ่งก็คือพระเอกหลบทัน ไม่งั้นหนังคงจบตั้งแต่ต้นเรื่อง)


แน่นอนว่า '​ทำ​ดีแล้ว'​ คำนี้​อาจดีต่อใจ​ในวันที่เรากำลังต้องการกำลังใจ ในวันที่เราต้องการหยุดพัก ​หรือหมดแรงจะไปต่อ ซึ่งใช้ได้ไม่ผิด แต่​มันอันตรายอย่างถึงที่สุด​ สำหรับผู้ที่ต้องการทลายขีดจำกัดบางอย่าง​ !! การจะไปให้ถึง​คำว่า​นวัตกรรม​ Innovation​ หรือ​ 'ดีขึ้นอย่างชัดเจน'​ นั้น​จะไม่มีการประนีประนอมโดยเด็ดขาด​

ซึ่งถามว่า​ แล้วมันจำเป็นไหมที่ต้องเครียด, ต้องกดดัน,​ หรือต้องบีบคั้น​ขนาดนั้นเลยเหรอ​​ ? ตอบเ​ลยว่า​ "ไม่จำเป็น" และมัน​ "เป็นคนละเรื่องเดียวกัน"

ที่มา : https://www.dyson.ae/.../corporate.../lean-engineering

7.​ Production &​ Testing

Production &​ Testing คือ 'ขั้น​ตอนสุดท้าย'​ ที่จะว่าด้วยเรื่องของการผลิต, ประกอบ, ลองแพ็คลงกล่อง​ ก่อน​ 'ทดสอบ'​ ด้วยการโยนลงมาจากที่สูง​ !!

โดยปรกติความสูงในการ Test จะอยู่ที่ประมาณ​ 1​ เมตร​ ตามพฤติกรรมการขนส่งของพนักงาน​ ที่อาจต้องมีการโยนขนส่งสินค้าขึ้นรถบ้าง นี่คือขั้นตอนสุดท้าย​ที่จะ​ Make​ Sure ว่าผลิตภัณฑ์ของเราจะไม่มีอะไรผิดพลาด​เมื่อถึงมือลูกค้า ซึ่งนอกจากจะ​ Test​ ความแข็งแกร่ง, อึด, ถึก, และทน​ ด้วยวิธีการ Extreme แบบต่าง​ ๆ​ แล้ว​ ​ยังทดสอบประสิทธิภาพการใช้งานอย่างเข้มข้นไม่แพ้กัน​ด้วย

https://www.youtube.com/watch?v=tzkgkAdvEnk

ดังตัวอย่างคลิป(ช่วงนาทีที่ 18) ที่มีการ Test เครื่องดูดฝุ่น​ โดยให้ดูดพรมที่วางไว้บนแป้นหมุน​ ซึ่งจะสลับสับเปลี่ยนพรมหลากชนิด​ เพื่อทดสอบการทำงานให้ครอบคลุมทุกพื้นผิว ซึ่ง​ Dyson​ กล่าวว่า​ ขั้นตอนนี้ไม่ยากนะ​แต่หัว​จะปวด.. เพราะถ้า​ Test แล้วมันไม่เวิร์คตรงไหน​ก็ต้องแก้วนไปจนกว่ามันจะเวิร์ค​ ​!!

บทส่งท้าย

หลังจากที่ DC-001 ขายได้อย่างถล่มทลาย ทุกคนในบริษัทรวมถึงทุกคนในครอบครัวต่างดีใจ และพึงพอใจกับมันอย่างถึงที่สุด ยกเว้น Dyson เพียงผู้เดียวที่มองว่าความสำเร็จและการพึงพอใจกับ DC-001 นี้ คือความอันตราย.. เพราะถ้าให้เทียบกัน มันคงเหมือนกับความสำเร็จอันยิ่งใหญ่ของ Hoover ในครั้งที่ทำเครื่องดูดฝุ่นแบบใช้ถุงผ้าเครื่องแรกของโลกสำเร็จเมื่อปี 1903

ความสำเร็จนั้นเป็นสิ่งดี แต่การยึดติดในความสำเร็จหรือคำตอบที่คิดว่าดีที่สุดนี่สิ ‘น่ากลัว’

เพราะสิ่งนี้แหละคือสิ่งที่ทำให้ 100 ปีหลังจากนั้น เครื่องดูดฝุ่นก็แทบไม่พัฒนาขึ้นอีกเลย ประวัติศาสตร์กำลังจะซ้ำรอย ถ้าไม่เพียงแต่ Dyson ได้รับนักศึกษาจบใหม่คนหนึ่ง เข้ามาในทีม R&D เพื่อสร้างสรรค์ DC-002

โดยมีโจทย์ที่ว่า เราจะทำยังไงให้เครื่องดูดฝุ่นไร้ถุงผ้านี้ ‘เล็กที่สุด’ เท่าที่จะเป็นไปได้

สิ่งที่น่าสนใจกว่าการรับเด็กจบใหม่ที่ไร้ประสบการณ์เข้าทำงาน ในบริษัทที่ถือได้ว่าเป็น ‘Unicorn’ ในสมัยนั้น คือการที่ Dyson ยืนยันที่จะทำโปรเจคที่ว่านี้กับเด็กจบใหม่ เพียงแค่ 2 คนเท่านั้น !! แน่นอนว่าสิ่งที่ Dyson ต้องการ เพื่อการเริ่มต้นค้นหาคำตอบใหม่ที่ดีที่สุดอีกครั้งหนึ่ง คือความไม่กลัวที่จะผิด !! เพราะมันผิดแน่ ๆ (ใครจะรู้คำตอบที่ถูกต้องของสิ่งที่ยังไม่เคยมีมาก่อน) และไม่ต้องกลัวเลยที่จะได้คำตอบโง่ ๆ ออกมา เพราะมันโง่แน่นอน

แต่นี่คือหนทางเดียวเท่านั้น ที่จะทำให้ Dyson ไม่เดินซ้ำรอย Hoover สิ่งหนึ่งที่เขาจะไม่ยอมสูญเสียไปโดยเด็ดขาดคือ ‘ความกล้าที่จะล้มเหลว’ และเรียนรู้

ล้มเหลวและเรียนรู้ นี่แหละคือสุดยอดอาวุธที่ร้ายกาจที่สุดของเขา !! เพราะเมื่อไหร่ก็ตามที่เรา ‘สูญเสียความกล้า’ ที่จะผิดพลาดและล้มเหลว นั่นหมายถึงเราได้สูญเสียโอกาสที่จะเรียนรู้และดีขึ้น ด้วยเช่นกัน


อีกเหตุผลหนึ่งที่ Dyson ให้โอกาสเด็กจบใหม่ที่ไร้ประสบการณ์เข้าทำงานใน Project นี้ เราเชื่อว่านี่คือการ ‘ส่งต่อ’ โอกาสที่เขาเคยได้รับมาเหมือนในวันที่ Dyson ได้รับโอกาสให้เข้าร่วม Project ออกแบบเรือบรรทุก Rotock Sea Truck จาก Tim Fry ในวันที่เขายังเป็นนักศึกษาอยู่ ซึ่งแน่นอนว่าสิ่งนี้คือประสบการณ์อันล้ำค่า​ ที่ทำให้เด็กหนุ่มที่ชื่อว่า James Dyson กลายเป็น Dyson ผู้ยิ่งใหญ่ได้เหมือนในทุกวันนี้

บทสรุป​ "Dyson​ Design​ Process​ 7​ Step​
7​ ขั้นตอนพัฒนาผลิตภัณฑ์​ สไตล์​ Dyson"

และทั้งหมดนี้​คือขั้นตอนการพัฒนา​ผลิตภัณฑ์​ ทั้ง​ 7​ ขั้นตอน​ ในแบบฉบับของ​ Dyson​ ที่มีใจความสำคัญในขั้นตอน​ต่าง​ ๆ​ ดังนี้​

  1. Brief​ ให้เคลียร์ชัดและซัดให้ตรงจุด

  2. Research​ ข้อมูลเฉพาะ​ คือกุญแจ​สำคัญ​

  3. Idea​ Development​ การหาคำตอบด้วย​ Design

  4. Specification​ จิ๊กซอว์​ของผลิตภัณฑ์และราคา

  5. Chosen Idea​ การตัดสินใจ​ ไปต่อหรือพอแค่นี้

  6. Product​ Development​ พระเจ้าอยู่ในรายละเอียด

  7. Production &​ Testing ทดสอบซ้ำกันผิดพลาด

นี่คือขั้นบันได​ทั้ง​ 7​ ขั้นสำหรับผู้ที่ต้องการนวัตกรรม​ Innovation​ หรือความ​ 'ดีขึ้นอย่างชัดเจน' เราเชื่อมั่นอย่างยิ่งว่า​ ​สิ่งนี้​ไม่ถูกจำกัดอยู่ในแวดวงเทคโนโลยี​ หรือการออกแบบเพียงเท่านั้น​ ด้วยความเชื่อที่ว่า

"กิ่งก้านใบของนวัตกรรมนั้น​ ล้วนมาจากรากเดียวกัน"

ซึ่งเราขอพิสูจน์​และท้าทายความเชื่อที่ว่านี้โดยการ​ Translate​ ขั้นบันไดทั้ง​ 7​ ของ​ Dyson​ ว่า​ ถ้าไม่ใช่​เรื่องการออกแบบผลิตภัณฑ์ แนวความคิดนี้ยังปรับใช้ได้จริงอยู่ไหม​ ?

ติดตามความท้าทายนี้ได้​ในบทความครั้งต่อไป ใน​ภาคเสริมของ Dyson​ Design​ Process​ 7​ Step​ x 'เทพเจ้าแห่งซูชิ'​

ทางเพจ Class A Solution
หรือ
https://www.class-a-solution.com/blog


และสุดท้ายนี้​ หากคุณอยากเปลี่ยนให้องค์กรของคุณเต็มไปด้วยนวัตกรรม จงหยุดหัวเราะให้ความล้มเหลว จงเริ่มฟังคำตอบที่ดูไม่ฉลาด และจงเปิดโอกาสให้คนที่มีไฟ ที่พร้อมจะเรียนรู้จากความล้มเหลวแบบไม่มีที่สิ้นสุด หรือทักมาคุยกับเรา Class A Solution ที่พร้อมจะให้คำแนะนำในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ Product Design ด้วยประสบการณ์การออกแบบให้ลูกค้าทั้งไทย และต่างประเทศมากว่า 15 ปีพร้อมทีมพัฒนาที่จะช่วยต่อยอด Idea ของคุณให้ไม่หยุดอยู่แค่ในกระดาษ เพื่อให้ Idea นั้นถูกพัฒนาผลิตและวางขายสู่ตลาดจริงได้อย่างมั่นใจ

ที่มา : http://dysonservicecentre.com/

เรียบเรียง​ : Mairilyn
ข้อมูล​ &​ เนื้อหา​ : PK