Class A Solution

View Original

The Shaker ลัทธิศาสนาที่เป็นเสมือนมารดาผู้ให้กำเนิดปรัชญา Form Follow Function

สำหรับใครที่หลงรักในความ minimal ของผลิตภัณฑ์ในยุคปัจจุบัน เราจะพาคุณไปรู้จัก The Shaker กลุ่มศาสนาที่เป็นผู้ริเริ่มปรัชญา Form Follow Function ในวันที่การปฏิวัติอุตสาหกรรมยังไม่เกิด ความเรียบง่ายที่ไม่ได้เกิดจากข้อจำกัดทางการผลิต แต่เกิดจากวิถีชีวิตและความศรัทธาในพระเจ้าของหมู่บ้าน Shaker

หมู่บ้าน Shaker เป็นกลุ่มคนผู้นับถือศาสนาคริสต์ลัทธิหนึ่ง จากเกาะอังกฤษในช่วง พ.ศ. 2317 (ตรงกับสมัยพระเจ้าตากสินในไทย) เรื่องราวทั้งหมดเริ่มต้นจากประสบการณ์การสูญเสียลูกที่พึ่งเกิดมา ทั้ง 4 คนของ คุณแม่ แอน ลี (Mother Anne Lee) การสูญเสียลูกทั้งสี่ครั้งนี้ ทำให้คุณแม่แอนลี เชื่อว่าการมีเพศสัมพันธ์ เป็นบาปที่เป็นต้นเหตุของความเสียใจทั้งหมดของเธอ เธอจึงเริ่มลัทธิใหม่ของศาสนาคริสต์ที่มีความเชื่อว่า เกี่ยวกับการมี Sex เป็นบาป และเราควรจะรักษาพรหมจรรย์ให้บริสุทธิ์เพื่อขึ้นไปสวรรค์ แนวความคิดของเธอ และแนวทางการปฏิบัติในศาสนาของเธอค่อนข้าง จะ Extreme เลยทำให้รัฐบาลอังกฤษในยุคนั้นจับเธอและผู้ติดตามของเธอเข้าคุกไป

หลังจากเธอและผู้ติดตามของเธอถูกปล่อยตัวออกมา จึงมีการตัดสินใจหา Uthopia สำหรับกลุ่มของเธอ เธอและผู้ติดตามจึงตัดสินใจย้ายถิ่นฐานมายังประเทศสหรัฐอเมริกา ในปี พ.ศ. 2330 บริเวณนิวเลบานอน รัฐนิวยอร์ก ซึ่งเป็นที่ที่ความเชื่อทางศาสนาในแบบของคุณแม่แอน ลี ได้เริ่มต้นขึ้น ในนามของหมู่บ้าน Shaker ความตั้งใจของคุณแม่แอน ลี คือการจำลองสวรรค์ให้ลงมาอยู่บนโลกนี้ โดยที่คนในหมู่บ้านควรจะปฏิบัตตัว และใช้ชีวิตเหมือนอยู่บนสวรรค์ เพื่อที่เมื่อจากโลกนี้ไปเราจะได้เคยชินกับการอยู่บนสวรรค์ได้ทันที ด้วยแนวคิดแบบ Uthopia นี้ทุกคนในหมู่บ้านจึงมีเป้าหมายในการสร้างสวรรค์บนดิน ให้ได้มากที่สุดและมันได้กลายเป็นจุดกำเนิดของตำนานการออกแบบอย่างมหัศจรรย์

ในแนวความคิดแบบ Utopianism ของคุณแม่แอนลี มันได้แตกต่างโดยสิ้นเชิงกับโลกในยุคนั้นที่เป็นแบบ Neoclassism สวรรค์ของ Shaker ไม่ได้เป็นแบบกรีกโรมันที่เต็มไปด้วยการประดับประดาและความหรูหรา แต่มันกลับเรียบง่าย เต็มไปด้วยประโยชน์ใช้สอยที่จำเป็นต่อชีวิตประจำวัน และความงามมันจะมีอยู่เพียงแค่นั้นจริงๆ

ที่มาของความเรียบง่ายนั้นมีที่มาจากหลายความเชื่อของคนในหมู่บ้าน Shaker แต่ที่โดดเด่นพุ่งออกมาคือ Shaker เชื่อว่าพระเจ้าอยู่ในธรรมชาติ อยู่ในวัสดุที่เค้านำมาใช้สร้างสรรค์สิ่งต่างๆ การเอาวัตถุดิบจากธรรมชาติมาใช้ก็เหมือนการนำเอาพระเจ้ามาใช้ ดังนั้นShakerจะเคารพกับพระเจ้าด้วยการทำให้สิ่งที่พวกเค้าสร้างต้องเกิดประโยชน์สูงสุด ไม้ทุกแผ่นจะต้องถูกนำมาใช้อย่างแท้จริงไม่ทำให้เกิดความฟุ่มเฟือย

นอกจากความเคารพในวัสดุที่เค้านำมาใช้ในการสร้างสรรค์แล้ว แรงขับเคลื่อนหลักที่ทำให้ Shaker สร้างสรรค์ผลงานที่มีประโยชน์มากมายคือ แนวทางการสอนให้ Shaker ทุกคนต้องขยัน เพราะความขยันเป็นเหมือนประตูเบิกทางให้ไปสู่สวรรค์ ดังคำกล่าวของคุณแม่แอลี “Do all your work as if you had a thousand years to live, and as you would if you knew you must die tomorrow.”ทำงานราวกับว่าคุณมีชีวิต 1,000 ปี และทำอย่างที่คุณทำถ้าคุณรู้ว่าจะตายในวันพรุ่งนี้ ด้วยความเชื่อเหล่านี้เองจึงทำให้ชุมชน Shaker เป็นชุมชนที่มี Self-motivation ทุกคนจะพยายามสร้างสรรค์และพัฒนาอยู่เสมอ หมู่บ้านจึงเต็มไปด้วย นวัตกรรมและแนวความคิดที่มาก่อนยุคก่อนสมัยมากมาย

Shaker เชื่อว่าเวลาที่พวกเขาทำสิ่งต่างๆเปรียบเสมือนพวกเขากำลังยกมือสวดมนต์ และเป็นเส้นทางที่จะได้เข้าใกล้สวรรค์มากขึ้น ดังคำพูดที่ส่งต่อกันว่า''Put your hands to work, and your hearts to God.'' ซึ่งหมายความว่า จงใช้มือในการทำงานและให้หัวใจกับพระเจ้า ด้วยความเชื่อเหล่านี้ Shaker จึงไม่เคยอดตายและมีสิ่งของเหลือใช้มากพอจนสามารถนำไปขายและสร้างรายได้ให้กับชุมชนสร้างความยั่งยืนอย่างต่อเนื่อง

Shaker’ Style VS Neoclassical ความแตกต่างแบบสุดโต่งของการออกแบบในยุคสมัยเดียวกัน

Shaker ก่อร่างสร้างตัวในยุคที่ศิลปะและการออกแบบเฟื่องฟูมากยุคนึงของประวัติศาสตร์ หรือที่เรียกกันว่ายุคนีโอคลาสสิค เป็นรูปแบบศิลปะที่ได้รับอิทธิพลมาจากการที่ชาวฝรั่งเศสเกิดการต่อต้านระบบศักดินา ผู้คนพยายามนำเอาเรื่องราวและศิลปะในยุคกรีกและโรมัน กลับมาสร้างใหม่ การตกแต่งประดับประดาความหรูหราแบบกรีกและโรมันเป็นที่นิยมกันอย่างสุดขีดในช่วงเวลานั้น แต่สวรรค์ของ Shaker กลับแตกต่างกันโดยสิ้นเชิงด้วยแนวคิดที่เน้นความเรียบง่าย และประโยชน์ใช้สอยเป็นหลัก

ความปราณีตในแบบของ Shaker จะไม่เอาเวลาไปนั่งแกะสลักลวดลายลงบน Furniture แต่กลับถูกเอาไปแสดงกับรูปแบบการจัดวางที่เป็นระบบบนของที่พวกเค้าสร้าง ตู้ของ shaker ที่หลายคนมักจะคิดว่าเป็นตู้สี่เหลี่ยมผืนผ้าธรรมดา แต่ถ้าสังเกตดีๆจะพบว่าการแบ่งพื้นที่ในแต่ละส่วนของตู้ที่มองว่าเรียบง่าย กลับมีความซับซ้อนและปราณีตที่ shaker ทำขึ้นมา ไม่ว่าจะเป็นประตู 2 บานที่อยู่ระหว่างตู้ที่ไม่มีการแบ่งกึ่งกลาง แต่หากมองดีๆจะเห็นว่าพื้นที่ถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วน หรือ 4 ส่วน ก็ได้อยู่ที่จังหวะการมอง

ทุกสิ่งที่ Shaker สร้างขึ้นอาจจะดูเหมือนเน้นที่การใช้งาน แต่ความเป็นจริง Shaker ใส่ใจในความงามมาก พวกเขามักจะสอนต่อๆกัน “Don't make something unless it is both necessary and useful; but if it is both necessary and useful, don't hesitate to make it beautiful.” จงอย่างสร้างอะไรที่ไม่จำเป็นและไม่มีประโยชน์ แต่ถ้ามันมีทั้งสองอย่างแล้วจงอย่าหยุดที่จะทำให้มันสวยงามด้วย

การออกแบบของ Shaker มักจะออกแบบเพื่อตอบสนองกิจกรรมในชุมชนและสร้างบ้านให้เป็นภาพสะท้อนของสวรรค์ โดยทุกอย่างไม่มีการล็อคหรือเป็นความลับ ทุกพื้นที่และสิ่งของจะต้องสะอาดหมดจด ตามคำที่แอน ลี บอกว่า

“There is no dirt in heaven”
สวรรค์ไม่มีสิ่งสกปรก

จะเห็นได้ว่าเฟอร์นิเจอร์ส่วนใหญ่ของ shaker มักจะให้ความสำคัญกับความสะอาดเป็นอย่างมากเหตุผลของการลดทอนจนเหลือเพียงระนาบเรียบๆไม่ใช่เพียงเพราะเพื่อความประหยัด แต่ต้องการสร้างสิ่งของให้ไร้สิ่งที่จะสะสมสิ่งสกปรก ก็เป็นหัวใจของงาน Furniture ของ Shaker เอกลักษณ์ของเก้าอี้ที่โดดเด่น มีพนักพิงเดี่ยวแบบเตี้ยให้สามารถแขวนบนหมุดติดผนังเมื่อไม่ใช้งานได้ ทำให้สามารถทำความสะอาดพื้นที่ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพและง่ายดาย

- เฟอร์นิเจอร์มักทาสีหรือย้อมด้วยสีเหลือง สีส้ม สีแดงเข้ม หรือสีเขียว ซึ่งไม่ทิ้งคราบสกปรก
- ขาอาจเป็นสี่เหลี่ยมหรือกลม มักจะเรียวหรือกลมเล็กน้อยตรงกลาง
- วิธีประกอบไม้นิยมใช้ Dovetail joint (การต่อไม้แบบหางเหยี่ยว)
- ตัวยึด ได้แก่ ตะปูที่ตีทำเองด้วยมือและหมุดสองอัน
- เฟอร์นิเจอร์มีองค์ประกอบ เช่น ลูกบิดและระแนงพาดหลังเก้าอี้ ท็อปเก้าอี้ประดับด้วยลูกโอ๊ก ไพน์โคน หรือปลายเป็นรูปเปลวไฟ มีไว้เพื่อใช้จับหรือยกเก้าอี้ขึ้นไปแขวนกับหมุด ไม่ใช่การตกแต่ง

Shaker มีการรับประกันคุณภาพของการผลิต และมีวิธีการผลิตที่สามารถผลิตเก้าอี้จำนวนมาก ทำให้เก้าอี้ของ shaker เป็นมากกว่าการแสดงออกทางศาสนา แต่เป็นการพัฒนาแบรนด์และเป็นการผลิตแบบ mass production ที่เหมาะกับโลกในปัจจุบันอีกด้วย
รูปแบบดั้งเดิมของ shaker จะเน้นประโยชน์ใช้สอยและความเรียบง่าย เช่น Trestle table ที่มีการย้ายที่วางขาจากตรงกลางมาเป็นคานข้างบน เพื่อเพิ่มพื้นที่ในการวางขามากขึ้นและลดการเสียหายของที่รองขา ทำให้โต๊ะดูเบาและผลิตง่ายขึ้น

Systematic Design

หนึ่งในนวัตกรรมที่น่าสนใจของ Shaker คือ Peg หรือหมุดที่ออกบบให้สามารถแขวนสิ่งของต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเสื้อผ้า หรือเครื่องมือ เช่น พลั่ว นาฬิกา กระจก หรือผ้าห่ม ระยะห่างที่เท่ากันของหมุดก็กลายเป็น ระยะห่างที่พอดีกับ furniture ชิ้นอื่นๆที่ Shaker สร้างเพื่อให้เกิดการใช้งานร่วมกันได้อย่างสมบูรณ์ หมุดถูกสร้างมาให้แข็งแรงเพื่อรับน้ำหนักได้เยอะ ไม่เพียงแค่แขวนข้าวของเล็กๆน้อยๆหรือเครื่องประดับ แต่มันต้องรับตู้ขนาดกลาง หรือเก้าอี้ได้ทั้งตัว

ที่มาของหมุดมาจากเหตุผลของการใช้พื้นที่ของ Shaker ในทุกๆสัปดาห์คนในหมู่บ้านจะรวมตัวกันเพื่อมาร้องเพลงและเต้นรำกัน shaker มักจะมีการร้องและเต้นเพื่อนมัสการพระเจ้า การเต้นดังกล่าวมีการใช้พื้นที่ค่อนข้างมาก หมุดจึงมีหน้าที่ในการแขวนเก้าอี้ไว้บนผนังเพื่อเพิ่มพื้นที่ให้กับพิธีกรรมนี้ได้ Furniture ที่ถูกแขวนขึ้นบนหมุดได้จึงทำให้สามารถ เปิด Floor เต้นรำกันได้เต็มที่ และ นอกจากนี้ในวันธรรมดาการทำความสะอาดยังเป็นเรื่องง่ายเพียงแค่นำเฟอร์นิเจอร์ไปแขวน ทำให้เก็บกวาดได้ทุกซอกทุกมุม

ขอบคุณที่มาจาก :

https://www.metmuseum.org/toah/hd/shak/hd_shak.htm

http://dvhsscheppachapush5.pbworks.com/.../Mother%20Ann... 

https://www.metmuseum.org/toah/hd/shak/hd_shak.htm

https://www.thesprucecrafts.com/shaker-furniture-history...

https://hyperallergic.com/.../hands-to-work-hearts-to.../

https://www.youtube.com/watch?v=a9VHlAfOIsA&t=1127s

https://www.churchtimes.co.uk/.../there-is-no-dirt-in-heaven

https://www.woodmagazine.com/.../a-look-at-shaker…

https://www.shakershoppe.com/product/shaker-peg-rail/


ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่ :

https://www.facebook.com/classasolution/

https://www.blockdit.com/pages/611d1d3bbf6a97310ee7d712