Charles and Ray Eames นักออกแบบผู้สั่นสะเทือนวงการ Industrial Design
"Charles and Ray Eames" ผู้ใช้การออกแบบพิชิต Missionท้าทายแห่งยุคสมัย
ในยุคที่ 'ไม้ 'ยังเป็นวัสดุหลักในการทำ'Product' ปัญหาที่พบเจอคือ'ไม้ 'นั้นปลูกทดแทนได้ยาก ช้า ไม่เพียงพอต่อความต้องการ และหากยังฝืนใช้ต่อไปเรื่อยๆ ก็เหมือน'ระเบิด' ที่รอเวลานับถอยหลังเท่านั้น การหาวัสดุทดแทนจึงถือว่าเป็น "Mission” ท้าทายแห่งยุคสมัย"นั้นเลยก็ว่าได้
'ไม้อัด'(Plywood) คือการนำเศษไม้ มาอัดรวมกันจนกลายเป็นแผ่น แข็งแรง น้ำหนักเบานับว่าเป็น หนึ่งใน'วัสดุแห่งอนาคต'ในช่วงเวลานั้น ('พลาสติก'ก็ยังอยู่ในช่วงเวลา ตั้งไข่เช่นกัน)
ปัญหาคือ ไม้อัดในตอนนั้นทำ'Form'ได้ยากซึ่งถือว่าเป็นข้อจำกัดที่ทำให้เหล่า Designer และช่างต้อง'กุมขมับ'ไปตามๆกัน..
ขอเชิญทุกท่าน ร่วมสำรวจเส้นทางสู่ฝันอันยิ่งใหญ่ของคู่รักนักออกแบบ ผู้เป็น Icon แห่งวงการ 'industrial design' ยุค 50-70s
Charles Eames (ค.ศ.1907-1978)
เป็นสถาปนิก ก่อนจะมาเป็นอาจารย์ประจำ
ภาควิชา 'Industrial Design' ในมหาวิทยาลัย Cranbrook Academy of Art ในรัฐมิชิแกน
.
Ray Kaiser (ค.ศ.1912-1988)
เป็นนักศึกษาด้านศิลปะที่ Cranbrook Academy of Art ในรัฐมิชิแกน
.
มหาวิทยาลัยแห่งนี้ คือที่ๆพวกเค้าได้พบกันครั้งแรก
.
ในขณะนั้นชาร์ลส์และเพื่อน Eliel Saarinen
กำลังเตรียมผลงาน"ออกแบบเก้าอี้ ด้วยเทคนิคไม้อัดดัดโค้ง" เพื่อส่งเข้าประกวดในงาน Organic DesignCompetition จัดโดย Museum of Modern Art
.
ด้วย'Concept' ที่ต้องการนำเสนองาน
"Organic Form" ที่ผลิตจาก 'ไม้อัด'
ซึ่งแปลกจากยุคนั้น ในยุคที่วัสดุไม้ ยังไม่พ้นจาก
การทำอะไรเป็นแผ่นๆ เหลี่ยมๆ มาประกอบกัน
.
พวกเค้าทำสำเร็จ 'Charles และ Eliel Saarinen'
คว้ารางวัลที่ 1 จากงานประกวดมาครองได้
.
จนโรงงาน Heywood-Wakefield สนใจ พร้อมยื่นข้อเสนอซื้อแบบผลงานนั้นในทันที ทุกอย่างทำท่าจะดี ก่อนที่พวกเค้าจะพบว่า งานของพวกเค้าไม่สามารถผลิตออกมาแบบ "Mass Production" ได้
.
ด้วย 'Form Organic' ที่ซับซ้อนเกินกว่าที่วัสดุไม้ที่ใช้ถูก 'ดัด' แล้วไม่หัก ในการผลิตจริงจึงแก้ปัญหาด้วยการหุ้มโครงสร้างไม้ดัดนั้นด้วยผ้าอีกที เพื่อปิดบาดแผลจากการดัดไม้ในเวลานั้น ในมุมมองของวงการ 'industrial design' แม้งานชิ้นนี้จะได้รางวัลที่1 แต่ก็ยังถือว่าสอบตกอยู่ดี
.
ด้วยเหตุนี้ งานชิ้นนี้จึงถูกฝังไว้ที่ Museum เท่านั้น..
.
เหตุผลหลักที่ต้องผลิตแบบ "Mass Production"ให้ได้ก็คือ สมมุติเราทำงานชิ้นนึงสวยมาก แต่ผลิตต่อไม่ได้
ทำซ้ำไม่ได้ = ราคาสินค้าแพง
ราคาสินค้าแพง = คนซื้อน้อย
พอคนซื้อน้อยหรือไม่ซื้ิอ ก็ไม่มีเงินพอที่จะไปเลี้ยงบริษัท TT
.
อย่างไรก็ตาม หลังจากผ่านห้วงเวลาแห่งความผิดหวัง
Charles และ Ray ทั้งคู่ตัดสินใจ แต่งงานกันในปี ค.ศ. 1941 ก่อนย้ายถิ่นฐานมาอยู่ที่ลอสแอนเจลิส
ในอพาร์ทเมนท์เล็กๆ พร้อมด้วยไฟและโจทย์ที่ยิ่งใหญ่
.
โจทย์ที่จะสั่นสะเทือนวงการ 'Industrial Design'
ไปตลอดกาล
.
"เราจะสามารถทำเก้าอี้ไม้อัดดัด ให้ผลิตแบบ Mass Production ได้อย่างไร?"
ในอพาร์ทเมนท์เล็กๆที่ลอสแอนเจลิส
.
คราวนี้ทั้งคู่ไม่ได้หยุดอยู่ที่การดัดไม้ หรือการพยายามหาโรงงานเพื่อที่จะ 'ดัดไม้' เพราะช่างที่มีในยุคนั้นก็ยัง
ไม่พร้อมยอมรับด้วยเช่นกัน
.
พูดง่ายๆเหมือนเราเดินเข้าไปในโรงงาน แล้วจู่ๆก็บอกช่าง ให้เปลี่ยน "Process" การทำงาน ช่างก็คงจะ..
'อิหยังวะ?' เพราะช่างเค้าทำงานเดิมๆ ได้เงินอยู่ดีๆ
แล้วเค้าจะเสี่ยงมาทดลองด้วยทำไม?
.
ในขณะนั้นชาร์ลส์ได้ทำงานเป็นพนักงานในบริษัทเอกชนแห่งหนึ่ง
ระหว่างนั้นก็แอบจิ๊กเอาเศษวัสดุ (ไม้อัด) จากบริษัท มาทดลองต่อ
ที่อพาร์ทเมนท์กับ Ray ด้วย
.
ด้วยการลองผิดลองถูก ด้วยความพยายามอุตสาหะ
จนในที่สุด พวกเค้าก็ได้ค้นพบความจริงว่า การพยายามเอา'ไม้อัด' แผ่นใหญ่ๆ ตรงๆมาดัด 'Form'
.
" มัน เป็น ไป ไม่ ได้ !! "
.
.
ดั่ง'ไอแซค นิวตัน'ที่โดนแอปเปิ้ลตกใส่หัว
ดั่ง'อาร์คิเมดีส'ที่ร้องตะโกนกู่ก้อง "ยูเรก้า"
พวกเค้าเกิดความคิดใหม่ ว่าจริงๆแล้ว'ไม้อัด'แผ่นต่างๆ
มันต้องถูกคิดให้เป็นเหมือน 'Packaging'!!
.
คือมันต้องออกแบบเป็น "2มิติ"(2D)ลงบนแผ่นไม้อัด ก่อนที่จะนำไปตัด ไปพับ ให้เกิด 'Form' เกิดทรง และการอบวัสดุในอุณหภูมิองศากับระยะเวลาที่พอเหมาะ แล้วค่อยมาดัดใส่แม่พิมพ์
.
จากไอเดียนี้ Rayในฐานะที่เป็นศิลปิน เป็น 'Artist'
ได้รับไม้ต่อ เริ่มทดลองรังสรรค์ผลงาน Art Piece ขึ้น
.
เมื่อตระหนักรู้แล้วว่า วัสดุมันไปได้ขนาดนี้ มันสามารถหลุดจากกล่อง 4 เหลี่ยม ไปสู่ 'Organic Form' แถมยังสามารถผลิตเป็น 'Mass Production' ได้
.
ตำนานการ"Challenge" ที่สั่นสะ-ท้านทั้งวงการ
'Industrial Design' ซึ่งส่งผล'สั่นสะเทือน'ไปทั่วโลก
ก็ได้เริ่มต้นขึ้น
ที่มา : https://www.loc.gov/exhibits/eames/furniture.html
https://www.eamesoffice.com/the-work/plywood-sculpture/
ผลงาน ศิลปะที่ Ray Eames ได้ทดลองกับเทคนิคการดัดไม้อัด เพื่อการทำให้วัสดุสร้าง form เกินกว่าขีดจำกัดเดิมที่เคยทำไว้
ในห้วงเวลาแห่งการค้นพบของCharlesและ Ray
.
ตรงกับช่วงเวลาของสงครามโลกครั้งที่ 2 พอดี
(ค.ศ.1941 - 1942) สหรัฐได้เข้าร่วมสงคราม
หลังถูกญี่ปุ่นโจมตีฐานทัพเรือที่ 'อ่าวเพิร์ล'
กองทัพเรือสหรัฐอเมริกาได้ส่งเทียบเชิญ ให้ Charles and Ray ช่วยออกแบบ"Product" ชิ้นหนึ่ง นั่นก็คือ
.
"เฝือกไม้ดามขา" Molded Plywood Leg Splints สำหรับทหารที่ขาหักในสงคราม
.
ทั้งคู่ได้นำองค์ความรู้ที่ค้นพบมาใช้อย่างเต็มที่
โดยการนำแผ่นไม้อัดมาทำ 'Patterns 2มิติ'
ก่อน ตัด เจาะ เพื่อให้แผ่นไม้ให้ตัว และดัดได้ใน Form
ที่ซับซ้อน ก่อนนำไปอัดในแม่พิมพ์ ออกมาเป็นที่ช่วย
พยุง ประคองขา ซึ่งมีรูสำหรับใส่ที่รัด เพื่อเพิ่มความกระชับด้วย
.
ถามว่า"Product" ชิ้นนี้มันเจ๋งยังไง?
.
ถ้ามองย้อนไปในยุคที่'พลาสติก'ยังไม่มีเทคนิคการขึ้นแม่พิมพ์ขนาดใหญ่ ตัวเลือกวัสดุถัดมา ก็คงจะเป็น 'เหล็ก'ซึ่งสามารถทำได้ แต่มัน "หนัก" เกินกว่าที่คนขาหักจะใช้พยุงตัว(คนขาดีๆก็ยังลำบากเช่นกัน)
.
ไม้อัด (Plywood) จึงเป็นวัสดุเดียวที่ตอบโจทย์!!
ด้วยน้ำหนักที่เบา แข็งแรง แถมดัดเป็น 'Organic Form' เพื่อสอดรับกับ 'Ergonomic' ของขาได้เป็นอย่างดี
งานชิ้นนี้ถือเป็น Iconic และยังเป็นงานไม้ดัด
ที่ผลิตเป็น "Mass Production" ในจำนวน 5000 ชิ้น เป็นครั้งแรกของโลกอีกด้วย
.
คงไม่ต้องกล่าวว่า "Product" ชิ้นนี้
ได้ช่วยชีวิตทหารในสงคราม และผู้คนที่อยู่เบื้องหลังพวกเค้าไว้มากแค่ไหน..
อะไรจะเกิดขึ้น เมื่อโลกได้รู้จักกับสิ่งที่เรียกว่า
"โทรทัศน์" เป็นครั้งแรก
.
ถ้าเปรียบกับปัจจุบัน ให้เข้าใจง่่าย
ให้นึกถึงการถือกำเนิดของ "IPhone"
.
เมื่อ 'IPhone' เกิด 'Product' อื่นๆที่รายล้อมก็ตามมา เช่น แท่นวางมือถือ ที่พันสายชาร์จ ฯลฯ ถือว่าเป็น 'Product' ที่เกิดตามมาเพื่อตอบโจทย์ 'เทคโนโลยี' ที่เกิดขึ้น
.
ทีนี้เมื่อ"โทรทัศน์"เกิดแล้ว"Product"อะไรล่ะ
ที่จะตามมา?
.
.
คำตอบคือ "เก้าอี้" นั่นเอง!!
.
Why เก้าอี้?
เหตุผลที่ Charles และ Ray Eames "Focus" ไปที่เก้าอี้
ไม่ใช่เพราะรัก หรือแค่อยาก แต่มันมีเหตุ-ปัจจัย
ที่เค้าสนใจจะทำ เพื่อให้ตอบสนอง "บริบทของสังคม"
และ "เทคโนโลยี" ที่เกิดขึ้นพร้อมๆกัน
.
"โทรทัศน์" มันเปลี่ยน "บริบทของสังคม" ยังไง?
.
แน่นอนว่าก่อนมีโทรทัศน์ เก้าอี้มีแค่เก้าอี้ทำงาน
เก้าอี้สำหรับโต๊ะกินข้าว ทีนี้ เก้าอี้พวกนี้ มักจะอยู่กับโต๊ะ เมื่อใช้งานเสร็จก็สอดใต้โต๊ะ หรือเก้าอี้สาธารณะ
ก็จะเป็นพวกเก้าอี้ยาวๆ ซึ่งใช้นั่งพักประเดี๋ยวก็ไป
.
ด้วยความที่ไม่ต้อง "นั่งนาน" ความ "เหลี่ยม" บาดขาบาดน่องบาดตูด ก็พอให้อภัยได้อยู่
ความงามก็ยังไม่ใช่เรื่องจำเป็น เพราะสุดท้ายเมื่อใช้งานเสร็จ ก็ถูกสอดเก็บใต้โต๊ะอยู่ดี
.
แต่ด้วยความที่ "โทรทัศน์" ต้องใช้ไฟฟ้า ใช้ปล๊กไฟ
จึงจำเป็นต้องอยู่บนโต๊ะ และติดผนังอยู่ตลอดเวลา
สิ่งที่เกิดตามมาคือ ห้องที่สมาชิกในครอบครัว มารวมตัวกัน เพื่อดูโทรทัศน์
.
ทีนี้เวลาคนดูโทรทัศน์ส่วนใหญ่ เค้าไม่ได้ดูกันเป็นนาที
เค้าดูกันเป็นชั่วโมง ความต้องการ 'เก้าอี้ที่สวยเพราะมันจะถูกตั้งอยู่ใจกลางห้องล้อมโทรทัศน์ที่ติดผนัง อักทั้งยังต้องรองรับ Ergonormic ให้ผู้ใช้งานนั่งได้นานจนให้จบรายการ TV' จึงเกิดขึ้นแบบฉับพลันทันที พร้อมๆกับ Babyboom ผู้ชนะสงคราม ที่กำลังขยายตัวอย่างรวดเร็วใน America
.
ซึ่งนี่คือสิ่งที่"Charles และ Ray Eames "เล็งเห็น และตอบสนอง
.
ด้วยเทคโนโลยี "ไม้อัดดัด"ของพวกเค้า ที่สามารถสร้าง "Organic Form" ที่ตอบโจทย์การ"นั่งนาน"
ด้วยหลัก"Ergonomic"
.
ประกอบกับ"ความงาม" ของเก้าอี้ที่รังสรรค์โดย
Ray ที่ทำให้เก้าอี้เสมือนเป็น "Art Object" ชิ้นหนึ่ง
ที่ตั้งอยู่กลางห้องได้
.
คงไม่เกินเลยไปนัก หากจะกล่าวว่าในช่วงเวลานั้น
นี่คือ "เก้าอี้ที่ทุกบ้านจำเป็นต้องมี"
หลังประสบความสำเร็จจากวัสดุ'ไม้อัด'(Plywood)
พวกเค้ายังเดินหน้าทดลองวัสดุอื่นๆต่อ อย่างไม่หยุดยั้ง ไม่ว่าจะเป็นวัสดุไฟเบอร์กลาส (Fiberglass) อลูมินัม (Aluminum) ภายใน Eames Office จนเกิดผลงาน Iconic อีกมากมายจาก process การทำงานแบบเดิมคือ เริ่มจากการทำความเข้าใจวัสดุอย่างถ่องแท้จนสามารถ นำเอาคุณสมบัตของวัสดุ มาใช้ประโยชน์อย่างสูงสุด เป็นความงามที่ไม่ต้องฝืน เป็นความสมดุลที่ไม่น้อยและไม่มากเกิน เป็นผลิตภัณฑ์ที่เป็นที่ต้องการและเป็นที่จดจำ จากมันสมองและการลงมือทำของ Charles and Ray Eames
.
ด้วยเหตุผลทั้งหมดที่กล่าวไว้ข้างต้น ส่งผลให้ในช่วงยุคสมัย 25 ปี Furniture ของ"Charles และ Ray Eames "
มียอดขายถล่มทลาย กว่า "5 ล้านชิ้น"
.
ทั้งคู่ได้สร้างผลงาน 'Furniture' ที่เป็น 'Icon' แห่งยุคสมัยมากมายไม่ว่าจะเป็น Eames Dining Chair Wood, Eames Molded Plastic Chair, Eames Lounge Chair
.
สามารถเสิร์ซต่อได้ใน
https://www.eamesoffice.com/works/seating/
.
เหนือสิ่งอื่นใด พวกเค้าได้สร้างความเข้าใจใหม่ๆ
ต่อสังคมว่า "นักออกแบบ" ไม่ใช่แค่ทำงานสวยๆ แต่คือ "นักแก้ปัญหา" ที่ต้อง
เข้าใจโจทย์ และตอบสนอง ความต้องการที่เกิดขึ้นใน 'บริบทสังคม' และ 'เทคโนโลยี'
เข้าใจธรรมชาติของวัสดุ เพื่อเอาวัสดุมาใช้ประโยชน์ให้เกิดสูงสุด
เข้าใจโครงสร้างโรงงานผลิต เพื่อที่จะออกแบบให้สอดคล้องกับการผลิตได้มากที่สุด
.
ชวนให้คิดต่อได้ว่า แล้วเราล่ะมองเห็น'โจทย์'อะไร
ใน'บริบทสังคม' และ 'เทคโนโลยี' ในปัจจุบันนี้?
ที่มา : https://www.eamesoffice.com/the-work/lcw-2/
ตัวอย่างเก้าอี้จากไม้ดัด
ในยุคที่กระบวนการผลิตยังมี ขีดจำกัด ในหลายๆอย่าง เก้าอี้ชุดนี้ ได้ก้าวข้ามขีดจำกัดของการผลิต เก้าอี้ไม้เหลี่ยมๆแบบเดิมมา เรียกได้ว่าเป็นเก้าอี้ Eames Chairs รุ่นแรกๆที่ประสบความสำเร็จ
.
เดิมทีเป็นเก้าอี้ที่ขึ้นรูปจากวัสดุไม้อัด นำมาดัด ก่อนที่จะมีการทดลอง และ พัฒนาวัสดุมากขึ้น
.
หลังจากนั้นเก้าอี้ชุดนี้ได้มีการพัฒนาเป็นขาเหล็กขึ้นในภายหลังทำให้น้ำหนักเบา และ เก้าอี้ดูโปร่งขึ้น
เก้าอี้ DCW Chair และ LCW Chair
ที่ดีไซน์เพิ่มเติมจากโครงสร้างไม้ดัดธรรมดา ให้มีสีสันที่หลากหลายมากขึ้น
.
ถึงแม้กาลเวลาจะผ่านไปนานถึง 50 ปี แต่เก้าอี้ตัวนี้ก็ยังมีการใช้งานในปัจจุบันได้อย่างลงตัว
ที่มา : https://www.vitra.com/es-es/product/aluminium-chair-group
https://www.eamesoffice.com/the-work/eames-aluminum-group/
ตัวอย่างงานหลังจาก Eames กลายเป็น ผู้เชี่ยวชาญ
วัสดุ อะลูมีนั่ม(Aluminum)
เก้าอี้ชุดอะลูมีนั่ม ที่ผ่านการออกแบบจากวัสดุเพียง 2 ชนิดคือโครงสร้างอะลูมิเนี่ยม และ เบาะรองนั่งเพียงชิ้นเดียว
.
ซึ่งเบาะรองนั่งเป็นส่วนประกอบที่ใช้สำหรับรับน้ำหนัก แถมยัง ทนทาน และ ยืดหยุ่น เข้ากับสรีระของผู้ใช้ได้ดีอีกด้วย
ที่มา : https://twitter.com/hermanmi.../status/974299229635178496...
https://eames.com/en/sling-seating
เก้าอี้นั่งรอในสนามบิน
เกิดจาก Eero Saarinen ต้องการที่นั่งสาธารณะ ที่มีความทนทานและบำรุงรักษาง่าย Charles and Ray Eames จึงทำตามคำแนะนำของ Saarinen ด้วยการออกแบบ Tandem Seating ออกมา
.
Tandem Seating เป็น Furniture ที่จะเห็นได้ภายใน สนามบิน สถานีรถไฟ หรือพื้นที่สาธารณะอื่นๆ
.
ถูกออกแบบมาให้สามารถทนต่อการใช้งาน และปรับจำนวนเบาะเป็นจำนวนเท่าใดก็ได้ โครงสร้างหล่อจาก อะลูมีนั่ม ที่แข็งแรง กับงานเบาะหนังที่ยึดเข้ากับโครงอะลูมินั่ม
ที่มา : https://www.vitra.com/en-fi/product/eames-fiberglass-chair
ตัวอย่างงานจาก Fiberglass
เป็นเก้าอี้ที่ทำมาจาก Fiberglass ซึ่งเป็นวัสดุที่ยังไม่มีใครนำมาใช้ในการทำ Furniture
.
ทาง Charles and Ray Eames เป็นกลุ่มแรกๆที่นำ Fiberglass มาใช้ใน Furniture
.
เก้าอี้ Eames Shell Chair นำ Fiberglass มาขึ้นรูป
ให้เหมาะสมกับร่างกายของมนุษย์ เพื่อการนั่งที่ดีขึ้น และ ยังมีการใช้งานมาจนถึงปัจจุบัน
บทส่งท้าย
แด่"Charles and Ray Eames"
.
"เรือใบไม่อาจแล่นไกลโดยไร้แรงลม"
.
ชาร์ลส์ architect หนุ่ม ผู้ถ่องแท้ใน'โครงสร้าง'
ตัวแทนสมองซีกซ้าย "ตรรกะ"
.
Ray Artist สาว ผู้ลึกซึ้งใน'ความงาม'
ตัวแทนสมองซีกขวา "สร้างสรรค์"
.
อะไรจะเกิดขึ้นถ้าชาร์ลส์ และ Ray ไม่ได้เจอกัน
เรื่องราวข้างต้น ทั้งหมดนี้จะออกมาเป็นอย่างไร?
.
.
การทำงานร่วมกัน ของตัวแทนสมองทั้ง 2ซีก
ตรรกะ - สร้างสรรค์ นั้นเป็นสิ่งสำคัญ
.
และอีกส่วนที่อยากจะกล่าวถึงคือ การมีใครสักคน ที่พร้อมจะร่วมทาง พร้อมแบ่งปัน โอบกอด ให้กำลังใจ ซับพอร์ตซึ่งกันและกัน ก็เป็นสิ่งที่สำคัญไม่แพ้กัน
"บนเส้นทางสู่ฝันที่แสนยาวไกลนี้"
ที่มา :
https://riunet.upv.es/bitst.../handle/10251/137369/Montes...
https://www.loc.gov/exhibits/eames/furniture.html https://www.loc.gov/exhibits/eames/furniture.html
https://www.eamesoffice.com/the-work/plywood-sculpture/
https://www.vitra.com/en-fi/product/eames-fiberglass-chair
https://twitter.com/hermanmi.../status/974299229635178496...
https://eames.com/en/sling-seating
https://www.vitra.com/en-es/product/eames-tandem-seating-ets
https://www.vitra.com/es-es/product/aluminium-chair-group
https://www.eamesoffice.com/the-work/eames-aluminum-group/
https://www.eamesoffice.com/the-work/lcw-2/
https://www.vitra.com/en-gr/product/lounge-chair
https://www.eamesoffice.com/works/seating/
https://www.youtube.com/watch?v=SFaLpbmP0Yw
https://www.klatmagazine.com/.../marily-neuhart-the.../43184
https://www.bidsquare.com/.../philco-predicta-tandem...
https://theculturetrip.com/.../take-your-pleasure.../
ข้อมูลโดย Pongnut Krainichakul
เรียบเรียงโดย Mailylin