The Shaker ลัทธิศาสนาที่เป็นเสมือนมารดาผู้ให้กำเนิดปรัชญา Form Follow Function

shaker กลุ่มศาสนา

สำหรับใครที่หลงรักในความ minimal ของผลิตภัณฑ์ในยุคปัจจุบัน เราจะพาคุณไปรู้จัก The Shaker กลุ่มศาสนาที่เป็นผู้ริเริ่มปรัชญา Form Follow Function ในวันที่การปฏิวัติอุตสาหกรรมยังไม่เกิด ความเรียบง่ายที่ไม่ได้เกิดจากข้อจำกัดทางการผลิต แต่เกิดจากวิถีชีวิตและความศรัทธาในพระเจ้าของหมู่บ้าน Shaker

Anne Lee ผู้ก่อตั้งและนำแนวความคิดแบบ shaker

หมู่บ้าน Shaker เป็นกลุ่มคนผู้นับถือศาสนาคริสต์ลัทธิหนึ่ง จากเกาะอังกฤษในช่วง พ.ศ. 2317 (ตรงกับสมัยพระเจ้าตากสินในไทย) เรื่องราวทั้งหมดเริ่มต้นจากประสบการณ์การสูญเสียลูกที่พึ่งเกิดมา ทั้ง 4 คนของ คุณแม่ แอน ลี (Mother Anne Lee) การสูญเสียลูกทั้งสี่ครั้งนี้ ทำให้คุณแม่แอนลี เชื่อว่าการมีเพศสัมพันธ์ เป็นบาปที่เป็นต้นเหตุของความเสียใจทั้งหมดของเธอ เธอจึงเริ่มลัทธิใหม่ของศาสนาคริสต์ที่มีความเชื่อว่า เกี่ยวกับการมี Sex เป็นบาป และเราควรจะรักษาพรหมจรรย์ให้บริสุทธิ์เพื่อขึ้นไปสวรรค์ แนวความคิดของเธอ และแนวทางการปฏิบัติในศาสนาของเธอค่อนข้าง จะ Extreme เลยทำให้รัฐบาลอังกฤษในยุคนั้นจับเธอและผู้ติดตามของเธอเข้าคุกไป

หลังจากเธอและผู้ติดตามของเธอถูกปล่อยตัวออกมา จึงมีการตัดสินใจหา Uthopia สำหรับกลุ่มของเธอ เธอและผู้ติดตามจึงตัดสินใจย้ายถิ่นฐานมายังประเทศสหรัฐอเมริกา ในปี พ.ศ. 2330 บริเวณนิวเลบานอน รัฐนิวยอร์ก ซึ่งเป็นที่ที่ความเชื่อทางศาสนาในแบบของคุณแม่แอน ลี ได้เริ่มต้นขึ้น ในนามของหมู่บ้าน Shaker ความตั้งใจของคุณแม่แอน ลี คือการจำลองสวรรค์ให้ลงมาอยู่บนโลกนี้ โดยที่คนในหมู่บ้านควรจะปฏิบัตตัว และใช้ชีวิตเหมือนอยู่บนสวรรค์ เพื่อที่เมื่อจากโลกนี้ไปเราจะได้เคยชินกับการอยู่บนสวรรค์ได้ทันที ด้วยแนวคิดแบบ Uthopia นี้ทุกคนในหมู่บ้านจึงมีเป้าหมายในการสร้างสวรรค์บนดิน ให้ได้มากที่สุดและมันได้กลายเป็นจุดกำเนิดของตำนานการออกแบบอย่างมหัศจรรย์

ต้นไม้ศาสนา

ในแนวความคิดแบบ Utopianism ของคุณแม่แอนลี มันได้แตกต่างโดยสิ้นเชิงกับโลกในยุคนั้นที่เป็นแบบ Neoclassism สวรรค์ของ Shaker ไม่ได้เป็นแบบกรีกโรมันที่เต็มไปด้วยการประดับประดาและความหรูหรา แต่มันกลับเรียบง่าย เต็มไปด้วยประโยชน์ใช้สอยที่จำเป็นต่อชีวิตประจำวัน และความงามมันจะมีอยู่เพียงแค่นั้นจริงๆ

ที่มาของความเรียบง่ายนั้นมีที่มาจากหลายความเชื่อของคนในหมู่บ้าน Shaker แต่ที่โดดเด่นพุ่งออกมาคือ Shaker เชื่อว่าพระเจ้าอยู่ในธรรมชาติ อยู่ในวัสดุที่เค้านำมาใช้สร้างสรรค์สิ่งต่างๆ การเอาวัตถุดิบจากธรรมชาติมาใช้ก็เหมือนการนำเอาพระเจ้ามาใช้ ดังนั้นShakerจะเคารพกับพระเจ้าด้วยการทำให้สิ่งที่พวกเค้าสร้างต้องเกิดประโยชน์สูงสุด ไม้ทุกแผ่นจะต้องถูกนำมาใช้อย่างแท้จริงไม่ทำให้เกิดความฟุ่มเฟือย

นอกจากความเคารพในวัสดุที่เค้านำมาใช้ในการสร้างสรรค์แล้ว แรงขับเคลื่อนหลักที่ทำให้ Shaker สร้างสรรค์ผลงานที่มีประโยชน์มากมายคือ แนวทางการสอนให้ Shaker ทุกคนต้องขยัน เพราะความขยันเป็นเหมือนประตูเบิกทางให้ไปสู่สวรรค์ ดังคำกล่าวของคุณแม่แอลี “Do all your work as if you had a thousand years to live, and as you would if you knew you must die tomorrow.”ทำงานราวกับว่าคุณมีชีวิต 1,000 ปี และทำอย่างที่คุณทำถ้าคุณรู้ว่าจะตายในวันพรุ่งนี้ ด้วยความเชื่อเหล่านี้เองจึงทำให้ชุมชน Shaker เป็นชุมชนที่มี Self-motivation ทุกคนจะพยายามสร้างสรรค์และพัฒนาอยู่เสมอ หมู่บ้านจึงเต็มไปด้วย นวัตกรรมและแนวความคิดที่มาก่อนยุคก่อนสมัยมากมาย

Shaker เชื่อว่าเวลาที่พวกเขาทำสิ่งต่างๆเปรียบเสมือนพวกเขากำลังยกมือสวดมนต์ และเป็นเส้นทางที่จะได้เข้าใกล้สวรรค์มากขึ้น ดังคำพูดที่ส่งต่อกันว่า''Put your hands to work, and your hearts to God.'' ซึ่งหมายความว่า จงใช้มือในการทำงานและให้หัวใจกับพระเจ้า ด้วยความเชื่อเหล่านี้ Shaker จึงไม่เคยอดตายและมีสิ่งของเหลือใช้มากพอจนสามารถนำไปขายและสร้างรายได้ให้กับชุมชนสร้างความยั่งยืนอย่างต่อเนื่อง

ตู้เสื้อผ้าของ shaker กับ ตู้เสื้อผ้าในยุค neoclassic

Shaker’ Style VS Neoclassical ความแตกต่างแบบสุดโต่งของการออกแบบในยุคสมัยเดียวกัน

Shaker ก่อร่างสร้างตัวในยุคที่ศิลปะและการออกแบบเฟื่องฟูมากยุคนึงของประวัติศาสตร์ หรือที่เรียกกันว่ายุคนีโอคลาสสิค เป็นรูปแบบศิลปะที่ได้รับอิทธิพลมาจากการที่ชาวฝรั่งเศสเกิดการต่อต้านระบบศักดินา ผู้คนพยายามนำเอาเรื่องราวและศิลปะในยุคกรีกและโรมัน กลับมาสร้างใหม่ การตกแต่งประดับประดาความหรูหราแบบกรีกและโรมันเป็นที่นิยมกันอย่างสุดขีดในช่วงเวลานั้น แต่สวรรค์ของ Shaker กลับแตกต่างกันโดยสิ้นเชิงด้วยแนวคิดที่เน้นความเรียบง่าย และประโยชน์ใช้สอยเป็นหลัก

ความปราณีตในแบบของ Shaker จะไม่เอาเวลาไปนั่งแกะสลักลวดลายลงบน Furniture แต่กลับถูกเอาไปแสดงกับรูปแบบการจัดวางที่เป็นระบบบนของที่พวกเค้าสร้าง ตู้ของ shaker ที่หลายคนมักจะคิดว่าเป็นตู้สี่เหลี่ยมผืนผ้าธรรมดา แต่ถ้าสังเกตดีๆจะพบว่าการแบ่งพื้นที่ในแต่ละส่วนของตู้ที่มองว่าเรียบง่าย กลับมีความซับซ้อนและปราณีตที่ shaker ทำขึ้นมา ไม่ว่าจะเป็นประตู 2 บานที่อยู่ระหว่างตู้ที่ไม่มีการแบ่งกึ่งกลาง แต่หากมองดีๆจะเห็นว่าพื้นที่ถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วน หรือ 4 ส่วน ก็ได้อยู่ที่จังหวะการมอง

ทุกสิ่งที่ Shaker สร้างขึ้นอาจจะดูเหมือนเน้นที่การใช้งาน แต่ความเป็นจริง Shaker ใส่ใจในความงามมาก พวกเขามักจะสอนต่อๆกัน “Don't make something unless it is both necessary and useful; but if it is both necessary and useful, don't hesitate to make it beautiful.” จงอย่างสร้างอะไรที่ไม่จำเป็นและไม่มีประโยชน์ แต่ถ้ามันมีทั้งสองอย่างแล้วจงอย่าหยุดที่จะทำให้มันสวยงามด้วย

วิธีการออกแบบเฟอร์นิเจอร์ของ shaker

การออกแบบของ Shaker มักจะออกแบบเพื่อตอบสนองกิจกรรมในชุมชนและสร้างบ้านให้เป็นภาพสะท้อนของสวรรค์ โดยทุกอย่างไม่มีการล็อคหรือเป็นความลับ ทุกพื้นที่และสิ่งของจะต้องสะอาดหมดจด ตามคำที่แอน ลี บอกว่า

“There is no dirt in heaven”
สวรรค์ไม่มีสิ่งสกปรก

จะเห็นได้ว่าเฟอร์นิเจอร์ส่วนใหญ่ของ shaker มักจะให้ความสำคัญกับความสะอาดเป็นอย่างมากเหตุผลของการลดทอนจนเหลือเพียงระนาบเรียบๆไม่ใช่เพียงเพราะเพื่อความประหยัด แต่ต้องการสร้างสิ่งของให้ไร้สิ่งที่จะสะสมสิ่งสกปรก ก็เป็นหัวใจของงาน Furniture ของ Shaker เอกลักษณ์ของเก้าอี้ที่โดดเด่น มีพนักพิงเดี่ยวแบบเตี้ยให้สามารถแขวนบนหมุดติดผนังเมื่อไม่ใช้งานได้ ทำให้สามารถทำความสะอาดพื้นที่ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพและง่ายดาย

- เฟอร์นิเจอร์มักทาสีหรือย้อมด้วยสีเหลือง สีส้ม สีแดงเข้ม หรือสีเขียว ซึ่งไม่ทิ้งคราบสกปรก
- ขาอาจเป็นสี่เหลี่ยมหรือกลม มักจะเรียวหรือกลมเล็กน้อยตรงกลาง
- วิธีประกอบไม้นิยมใช้ Dovetail joint (การต่อไม้แบบหางเหยี่ยว)
- ตัวยึด ได้แก่ ตะปูที่ตีทำเองด้วยมือและหมุดสองอัน
- เฟอร์นิเจอร์มีองค์ประกอบ เช่น ลูกบิดและระแนงพาดหลังเก้าอี้ ท็อปเก้าอี้ประดับด้วยลูกโอ๊ก ไพน์โคน หรือปลายเป็นรูปเปลวไฟ มีไว้เพื่อใช้จับหรือยกเก้าอี้ขึ้นไปแขวนกับหมุด ไม่ใช่การตกแต่ง

Shaker มีการรับประกันคุณภาพของการผลิต และมีวิธีการผลิตที่สามารถผลิตเก้าอี้จำนวนมาก ทำให้เก้าอี้ของ shaker เป็นมากกว่าการแสดงออกทางศาสนา แต่เป็นการพัฒนาแบรนด์และเป็นการผลิตแบบ mass production ที่เหมาะกับโลกในปัจจุบันอีกด้วย
รูปแบบดั้งเดิมของ shaker จะเน้นประโยชน์ใช้สอยและความเรียบง่าย เช่น Trestle table ที่มีการย้ายที่วางขาจากตรงกลางมาเป็นคานข้างบน เพื่อเพิ่มพื้นที่ในการวางขามากขึ้นและลดการเสียหายของที่รองขา ทำให้โต๊ะดูเบาและผลิตง่ายขึ้น

systematic design การออกแบบหมุดของ shaker ในการเก็บสิ่งของ

Systematic Design

หนึ่งในนวัตกรรมที่น่าสนใจของ Shaker คือ Peg หรือหมุดที่ออกบบให้สามารถแขวนสิ่งของต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเสื้อผ้า หรือเครื่องมือ เช่น พลั่ว นาฬิกา กระจก หรือผ้าห่ม ระยะห่างที่เท่ากันของหมุดก็กลายเป็น ระยะห่างที่พอดีกับ furniture ชิ้นอื่นๆที่ Shaker สร้างเพื่อให้เกิดการใช้งานร่วมกันได้อย่างสมบูรณ์ หมุดถูกสร้างมาให้แข็งแรงเพื่อรับน้ำหนักได้เยอะ ไม่เพียงแค่แขวนข้าวของเล็กๆน้อยๆหรือเครื่องประดับ แต่มันต้องรับตู้ขนาดกลาง หรือเก้าอี้ได้ทั้งตัว

ที่มาของหมุดมาจากเหตุผลของการใช้พื้นที่ของ Shaker ในทุกๆสัปดาห์คนในหมู่บ้านจะรวมตัวกันเพื่อมาร้องเพลงและเต้นรำกัน shaker มักจะมีการร้องและเต้นเพื่อนมัสการพระเจ้า การเต้นดังกล่าวมีการใช้พื้นที่ค่อนข้างมาก หมุดจึงมีหน้าที่ในการแขวนเก้าอี้ไว้บนผนังเพื่อเพิ่มพื้นที่ให้กับพิธีกรรมนี้ได้ Furniture ที่ถูกแขวนขึ้นบนหมุดได้จึงทำให้สามารถ เปิด Floor เต้นรำกันได้เต็มที่ และ นอกจากนี้ในวันธรรมดาการทำความสะอาดยังเป็นเรื่องง่ายเพียงแค่นำเฟอร์นิเจอร์ไปแขวน ทำให้เก็บกวาดได้ทุกซอกทุกมุม

ขอบคุณที่มาจาก :

https://www.metmuseum.org/toah/hd/shak/hd_shak.htm

http://dvhsscheppachapush5.pbworks.com/.../Mother%20Ann... 

https://www.metmuseum.org/toah/hd/shak/hd_shak.htm

https://www.thesprucecrafts.com/shaker-furniture-history...

https://hyperallergic.com/.../hands-to-work-hearts-to.../

https://www.youtube.com/watch?v=a9VHlAfOIsA&t=1127s

https://www.churchtimes.co.uk/.../there-is-no-dirt-in-heaven

https://www.woodmagazine.com/.../a-look-at-shaker…

https://www.shakershoppe.com/product/shaker-peg-rail/


ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่ :

https://www.facebook.com/classasolution/

https://www.blockdit.com/pages/611d1d3bbf6a97310ee7d712

Previous
Previous

The Shaker ความเชื่อทางศาสนา สู่ปรัชญาการออกแบบ

Next
Next

รู้หรือไม่? หน้ากาก N95 เกิดจากชุดชั้นใน