Henry Ford กับการปฎิวัตอุสาหกรรมและสังคมด้วย Model T
Henry Ford กับการปฎิวัตอุสาหกรรมและสังคมด้วย Model T
.
ความยิ่งใหญ่ของวงการอุตสาหกรรมการผลิตในอเมริกันนั้นจะเกิดขึ้นไม่ได้เลย ถ้าไม่มีรถยนต์ที่มีชื่อว่า “Ford Model T” นำทีมการผลิตและออกแบบโดย Henry Ford ผู้ก่อตั้งบริษัท Ford Motor ที่ได้พาคนอเมริกันก้าวข้ามขีดจำกัดในเดินทางให้กับคนทุกชนชั้นด้วยรถยนต์ ด้วยการสร้างความสมดุลระหว่างคุณค่าของผลิตภัณฑ์ ความสามารถในการผลิต และราคาที่ผู้ซื้อจับต้องได้
วันนี้ Class A Solution จะมาเจาะลึกถึงเรื่องราวของ Mr.Henry Ford และ Ford Model T ที่จะพาคุณไปรู้จักกับอีกแง่มุมหนึ่งของนวัตกรรม ผู้สร้างนวัตกรรมที่เปลี่ยนโลก พร้อมแล้วก็มาเริ่มกันเลย!
.
**คลิกที่รูปเพื่ออ่านต่อ**
________________________
อ่านบทความอื่น ๆ เพิ่มเติมได้ที่ : https://www.class-a-solution.com/blog
หรือ
Design Unknown Podcast : https://open.spotify.com/show/22SiryghDzfwzbX2gptVBf...
Youtube : https://youtube.com/playlist...
Soundcloud : https://on.soundcloud.com/t6z2f
Henry Ford ลูกชาวสวนที่คลั่งไคล้ใน technology
Mr. Henry Ford เกิดในปี 1863 เป็นลูกชายคนโตของครอบครัวชาวไร่ใน เมือง Dearborn รัฐ Michigan พร้อมกับความคาดหวังว่าจะเป็นคนที่สืบทอดกิจการไร่นาของครอบครัว Ford
จนกระทั่งวันเกิดอายุครบ 12 ปี Henry ได้รับของขวัญวันเกิดเป็นนาฬิกาจากพ่อที่จะมาจุดประกายไฟความเป็นนักประดิษฐ์ของตัว Henry เพราะหลังจากที่เขาได้นาฬิกาเรือนนั้นมาแทนที่เขาจะนำมาใช้ หรือเอาไปอวดเพื่อนตามภาษาเด็กๆ แต่ Henry นำมา “แกะ” ดูเพื่อศึกษากลไกข้างในว่ากลไกทำงานอย่างไร เมื่อเขาเข้าใจมากขึ้นต่อมาก็เริ่มรับซ่อมนาฬิกาให้กับเพื่อนบ้านในระแวกนั้น และความหลงไหลในเรื่องราวเกี่ยวกับกลไกของเขาก็เติบโตต่อเนื่องตั้งแต่นั้นมา
เมื่อ Henry Ford อายุ 15 ปี แม่ที่เป็นสิ่งเดียวที่เขารักในฟาร์มนี้ได้จากไป บวกกับแรงปราถนาที่จะหนีจากความน่าเบื่อของการทำฟาร์มเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว เขาจึงตัดสินใจลาออกจากโรงเรียนแล้วเข้ามาเป็นแรงงานในเมือง Detroit แบบไม่ลังเล โดยเข้าไปเป็นช่างเครื่องฝึกหัดอยู่ในโรงงานประกอบรถยนต์ Michigan Car Company ทำหน้าที่ซ่อมและประกอบรถราง แต่เขาก็ทำงานอยู่ได้เพียงแค่ 6 วันเท่านั้นก็ถูกไล่ออก เพราะความชำนาญที่เขามีอยู่น้อยนิด
แต่ Henry Ford เองก็ยังไม่ถอดใจจาก Detriot ยังคงพยายามใช้ชีวิตและทำงานหลายอย่างมากเพื่อให้เขาสามารถอยู่รอดในเมือง (ที่เป็นศูนย์กลางของโรงงานอุตสาหกรรม) นี้ได้ ตั้งแต่ไปซ่อมและประกอบเรือให้กับบริษัท Detroit Dry Dock Company เป็นคนซ่อมบำรุงและคุมเครื่องจักรไอน้ำให้กับบริษัท Westinghouse Engine Company แล้วก็ออกมาเป็นช่างเครื่องฝึกหัดอีกครั้งกับ James F. Flower and Brothers สะสมประสบการณ์ความเป็นนักประดิษฐ์จากงานเหล่านี้ ทำให้ทักษะและประสบการณ์ด้านกลไกลให้เขาได้ถูกเพิ่มพูลเป็นอย่างมาก
เขายังใช้เวลาว่างหลังเลิกงานตอนกลางคืนศึกษากลไก และหาความรู้เพิ่มเติมอยู่เสมอ แต่อะไรหลายๆอย่างก็ไม่ได้เป็นไปอย่างที่เขาคิดเอาไว้ หลังจากที่อยู่ในเมืองดีทรอยต์ได้เพียง 3 ปี Henry Ford ตัดสินใจเดินทางกลับบ้านเกิด เนื่องจากปัญหาเรื่องค่าใช้จ่ายที่เขาจะต้องแบกรับ
การกลับบ้านเกิดครั้งนี้มันมีความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น! เพราะพ่อของเขาได้ซื้อเครื่องจักรไอน้ำมาใช้ในการทำฟาร์ม Henry Ford ถึงแม้จะอยู่ในฟาร์มแต่ก็ยังได้คลุกคลีอยู่กับเครื่องจักรและเครื่องยนต์ ซึ่งก็ตรงกับประสบการณ์เกี่ยวกับเครื่องจักรไอน้ำที่เค้าได้เรียนรู้มาจากการทำงานให้ James F. Flower and Brother เมื่อระยะเวลาผ่านไปชาวบ้านก็เริ่มมาขอคำปรึกษากับเขา รวมถึงเขาเองก็ได้ลองเอาเครื่องจักรไอน้ำของตัวเองมาสร้างให้คนอื่นดู แต่ครั้งแรกมัน “ระเบิด”
แต่พ่อของ Henry Ford ก็ไม่เอาอุบัติเหตุนี้มาหยุดความฝันของ Henry Ford เพราะหลังจากนั้นพ่อของเขาก็ยกกระท่อมใน Farm ให้เขาทำการทดลองในห้องทดลองอย่างเต็มที่ปลอดภัยไม่ต้องอยู่ใกล้คนเหมือนทดลองในบ้าน เรื่องราวเหล่านี้ดังไปถึงหูของบริษัทเครื่องจักรไอน้ำ Westinghouse นี่จึงเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้เขาได้กลับเข้าไปทำงานที่บริษัทนี้อีกครั้ง โดยไปเป็นคนซ่อมเครื่องจักรไอน้ำในฟาร์มต่างๆ ในเขต Dearborn ที่เค้าอาศัยอยู่
แรงบันดาลใจจาก Idol และ ความฝันกลายมาเป็นความจริง
ในปี 1889 H. Ford ได้กลับเข้าไปที่เมืองดีทรอยต์อีกครั้ง แต่การกลับไปครั้งนี้เขาได้ไปเห็นสิ่งประดิษฐ์สิ่งใหม่ที่หน้าสนใจกว่าเดิมหลายเท่า ซึ่งนั่นก็คือ “เครื่องยนต์น้ำมัน หรือเครื่องสันดาบภายใน”
แต่ที่มากกว่านั้นเขาได้เจอกับไอเดียใหม่ของ Thomas Alva Edison ในเรื่องของการพัฒนาระบบการกระจายไฟฟ้ากระแสตรงให้ครอบคลุมทั่วทั้งเมือง รวมถึงไอเดียในการสร้างรถไฟฟ้าหรือ EV ขึ้นมาของ Edison ที่มาก่อนกาลถึง 130 ปี ในวันที่ปัญหาโลกร้อนยังไม่ได้ระอุเหมือนปัจจุบัน
ไอเดียนี้จุดประกายความหลงไหลใน technology ของ Henry Ford อีกครั้ง เขาจึงได้ตัดสินใจออกจาก Westinghouse แล้วเข้ามาขอทำงานให้กับ idol ของเขาที่ Edison Illumination Company โดย Edison เสนองานให้เขาเป็นวิศวกรที่ห้องทดลองของเขาในเมือง West Orange รัฐ New Jersey และอีกหนึ่งหน้าที่ที่ Henry Ford ได้รับมอบหมายก็คือการเป็น Keyman คนสำคัญในการคิดและวางแผนว่าการจะไปสร้างโรงผลิตไฟฟ้าตามเมืองต่าง ๆ รวมถึงการสร้างอุปกรณ์และเครื่องจักรในการผลิตไฟฟ้าด้วยระบบไฟฟ้ากระแสตรง (DC) ที่ต้องไปแทรกอยู่ตามตัวเมืองในหลาย ๆ จุดอีกด้วย
นอกจากโรงผลิตไฟฟ้าแล้ว เขาก็ได้สร้างต้นแบบ (prototype) ของสิ่งประดิษฐ์ต่าง ๆ มากมาย รวมไปถึงโมเดลรถไฟฟ้าของ Edison แต่ด้วยข้อจำกัดของประสิทธิภาพในการจัดการพลังงานที่ยังสู้กับเครื่องยนต์น้ำมันในตอนนั้นไม่ได้ เลยทำให้โปรเจคนี้ต้องถูกพับไป
นอกเหนือจากความรู้และความสามารถที่เขาได้พัฒนาขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่เริ่มเข้ามาทำงานที่บริษัทนี้แล้ว มิตรภาพระหว่างเขากับ Edison ก็ได้พัฒนาตามไปด้วย ทั้งคู่เป็นทั้งเพื่อนและผู้ร่วมงานกันอย่างยาวนาน และ Edison
นี่แหละคือหนึ่งใน Mentor ที่ทำให้ Henry Ford ประสบความสำเร็จได้ในอนาคตที่กำลังจะมาถึง
หลบไปรถไม่มีเบรค!!! Project ลับแอบทำแบบที่เจ้านายรู้
เมื่อ Henry Ford อายุได้ 31 ปี เขาก็ได้ขึ้นมาเป็นหัวหน้าวิศวกรของบริษัทของ Edison จากประสบการณ์และความพร้อมในหลาย ๆ ด้าน ประกอบกับนิสัยช่างประดิษฐ์ของเขา โปรเจคแบบไม่ลับของเขาก็ได้เกิดขึ้น โดย Henry Ford ใช้เวลาหลังเลิกงานเก็บเงินซื้ออุปกรณ์ชิ้นส่วนต่าง ๆ มาประกอบรถยนต์เครื่องยนต์สันดาบภายในขึ้นมาด้วยตัวเอง
เวลาผ่านไปหนึ่งปี “Quadricycle” ก็ได้ลืมตาดูโลก
รถคันนี้เป็นเหมือนรถยนต์ที่ใช้ล้อจักรยาน 4 ล้อมาประกอบกัน ขับเคลื่อนด้วยระบบโซ่ ผูกเข้ากับเครื่องยนต์น้ำมัน 1 กระบอกสูบที่ Henry Ford บรรจงสร้างขึ้นมาเอง และที่สำคัญมัน “ไม่มีเบรค” แถมเกือบจะไม่ได้ออกมาโลดแล่นบนถนนให้ทุกคนได้เห็นแล้วด้วย เพราะในทุกๆวัน Henry Ford จะค่อยๆขนชิ้นส่วนต่างๆมาประกอบเจ้า Quadricycle จนกลายเป็นรถที่วิ่งได้ เมื่อถึงเวลาจะขับรถออกมาทดสอบ กลายเป็นว่าประตูโรงรถกว้างไม่พอจะให้ขับรถผ่านออกมาซะอย่างนั้น แต่ประตูแค่นี้ก็มาขวางการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นไม่ได้เพราะ Henry Ford ได้เอาขวานมาจามประตูทิ้งไป
หลังจากที่รถคันนี้ได้ออกมาโลดแล่นก็กลายเป็น talk of the town ทันที ขับไปไหนใครๆก็มายืนมุงดู เลยต้องมีคนคอยปั่นจักรยานตามหลังพร้อมตะโกนว่า “หลบไปรถไม่มีเบรค!!!” ไม่งั้นคงจะโดนชนกันระนาว
การเป็นรถคันแรกความไม่สมบูรณ์แบบจึงเกิดขึ้นเป็นธรรมดา รถคันนี้เจอปัญหาอยู่ประปรายทั้งลูกสูบที่ร้อนเกินไป พวงมาลัยที่ยังควบคุมทิศทางไม่ค่อยจะดี รวมถึงระบบขับเคลื่อนยังเป็นระบบโซ่อีก (ลองนึกถึงโซ่จักรยานสิ) ดังนั้นเขาเลยไม่หยุดที่จะพัฒนารถคันนี้ต่อไป ซึ่ง Edison นั้นก็รับรู้ถึงการทำโปรเจคพัฒนารถครั้งนี้ของ Henry Ford มาตลอด
เขาไม่ห้ามแถมยังสนับสนุนให้ “Keep at it” ต่อไป เพราะตัว Edison เองได้มองเห็นว่าถ้ารถคันนี้สำเร็จสังคมจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างแน่นอน
ก่อนจะมาเป็น Ford Motor กับบทเรียนของ Start up ยุค 1900s
เมื่อเรื่องราวการสร้างรถสันดาบภายใน(น้ำมัน)ของ Henry Ford เป็นที่เรื่องลือไปทั่ว Detriot การระดมทุนเพื่อเปิดบริษัทผลิตรถยนต์ครั้งแรกก็เกิดขึ้น บริษัทแรกที่ Henry Ford ระดมทุนได้ก็คือบริษัท Detroit Automobile ก่อตัวขึ้นในปี 1988 โดยนักลงทุนหลัก ๆ ของบริษัทนี้คือ William C. Maybury นายกเทศมนตรีของ Detroit ในเวลานั้น และ William H. Murphy เป็นนักลงทุนจากธุรกิจค้าไม้
การที่ได้นายกเทศมนตรีมาหนุนทำให้ Ford ได้ประโยชน์จากการช่วยเหลือด้านภาษี จากนโยบายของ Detroit ที่พยายามสนับสนุนธุรกิจเทคโนโลยีอุตสาหกรรมใหม่ๆ โดยได้รับเงินสนับสนุนทั้งหมด $15,000 ($455,490 in 2019) ซึ่งในบริบทของบริษัทนี้ Henry Ford เหมือนเป็นแค่พนักงานถูกจ้างให้เข้ามาดูแลการผลิตและการดูแลรถยนต์มากกว่าจะเป็นเจ้าของบริษัท
โดยรถยนต์คันแรกที่ถูกผลิตออกมามีชื่อว่า “The Delivery Wagon” ที่มีลักษณะเหมือนรถม้า แต่ไม่มีม้าอยู่หน้ารถ พัฒนาและผลิตโดยพนักงานทั้งหมด 13 คน(รวม Henry Ford ด้วย) ปัญหาที่พบจากการผลิตรถคันนี้คือชิ้นส่วนในการประกอบส่วนใหญ่ยังไม่ได้ผลิตเอง ต้องรอให้โรงงานอื่นๆผลิตให้แถมแบบก็โดนตีกลับไปมาตามสไตล์ของงานนวัตกรรม รวมถึงตัว Henry Ford เองก็ยังไม่มั่นใจในประสิทธิภาพของรถยนต์มากนัก จึงเอาเวลาส่วนมากไปลงทุนกับการพัฒนารถและระบบต่าง ๆ ทำให้ใช้เวลานานถึง 6 เดือน กว่ารถคันแรกจะออกสู่ตลาดได้ ส่งผลให้รถคันแรกนี้ราคาสูงถึง $2,000USD ในเวลานั้นหรือราว ๆ $60,000USD ในปัจจุบัน (ราคาพอๆกับ Tesla Model Y ในปัจจุบัน)
จากราคารถที่สูงลิบ บวกกับจำนวนรถที่ผลิตออกมาได้เพียง 20 คันเท่านั้น ทำให้บริษัทนี้ถูกปิดตัวลงภายใน 18 เดือนหลังจากก่อตั้ง และขาดทุนรวมทั้งหมด $85,000USD (ราวๆ $2.5ล้านเหรียญ ในปัจจุบัน) หลังจากที่บริษัทแรกได้ปิดตัวลง ในช่วงนั้นกระแสการแข่งรถเริ่มได้รับความนิยม มีการแข่งรถในสนามแข่งกันอย่างจริงจัง Henry Ford เห็นโอกาสในการโชว์ศักยภาพของตัวเอง เขาจึงได้จับมือกับ Childe Harold Wills หนุ่มวิศวกรที่หลงรักเรื่องรถยนต์และขอมาทำงานร่วมกับ Ford แบบไม่มีค่าแรงเพื่อเรียนรู้เกี่ยวกับรถยนต์
H.Ford และ C.H.Wills พัฒนารถแข่งคันแรกขึ้นมาซึ่งก็คือรุ่น “Sweepstakes 26 HP (Horse Power)” แล้วก็เป็นไปตามคาดเขาได้รับชัยชนะกลับมาโดย Henry Ford เป็นคนลงไปขับด้วยตัวเอง ในปี 1901 เขากลับมาเป็นที่จับตาของนักลงทุนอีกครั้งและในครั้งนี้เค้าได้ตั้งชื่อบริษัทว่า Henry Ford เขาได้สร้าง “Ford999” รถแข่งคันถัดมา แทนที่จะไปมุ่งเน้นทำรถมาขาย แต่สุดท้ายก็กลับไปที่ปัญหาเดิมคือ "ขาดทุน" เขาเลยโดนบีบออกในระยะเวลาเพียง 6 เดือน แต่หลังจาก Henry Ford ออกไปบริษัทนี้ยังคงดำเนินกิจการต่อ และได้ถูกเปลี่ยนชื่อเป็น Cadillac Motor Company หรือรถคาดิแลคที่ประธานาธิบดีสหรัฐนั่งในปัจจุบันนั่นเอง
หลังจากถูกบีบออกจากบริษัทที่ตั้งเป็นชื่อตัวเองก็แล้วมา Henry Ford เองก็ยังไม่ละความพยายามออกมาทำรถแข่งต่อแล้วก็ได้ชัยชนะมาอย่างไม่ขาดมือ สองพี่น้องตระกูล Dodge เห็นถึงศึกยภาพที่มีในตัวของเขาเลยเสนอจะมาลงทุนให้อีกครั้งด้วยทุน $28,000usd นี่จึงเป็นการถือกำเนิดของบริษัท Ford Motor อย่างเป็นทางการในปี 1903 และนี่คือจุดเริ่มต้นของการปฏิวัติการผลิตของวงการอุตสาหกรรมครั้งยิ่งใหญ่ที่กำลังจะเกิดขึ้น
จุดเริ่มต้น Ford Motor และ patent troll รายแรกๆของโลก
หลังจากที่บริษัท Ford Motor ได้ถือกำเนิดขึ้นมา ก็ได้มีการพัฒนารถยนต์รุ่นต่างๆขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ Model A, Model B, Model AC, Model N และอีกมากมาย แต่รถรุ่นที่ถือว่ามีชื่อเสียงที่สุดและเป็นสิ่งที่ทำให้ฟอร์ดยิ่งใหญ่ขึ้นมาได้นั้น คงจะหนีไม่พ้น Ford Model T ที่ใครๆหลายคนรู้จักนั่นเอง
แต่ก่อนที่ Ford Motor จะเริ่มผลิตรถยนต์ได้ก็มีปัญหาติดขัดจากเรื่องสิทธิบัตรที่ George B. Selden ได้จดเอาไว้ก่อนเกี่ยวกับเครื่องยนต์สันดาบภายใน และนี่เป็นหนึ่งในตัวอย่างกิจกรรมที่เรียกกันว่า Patent Troll คือการจดสิทธิบัตเอาไว้แต่ไม่เคยทำอะไรเกี่ยวกับสิ่งประดิษฐ์นั้นเลยแต่ใช้สิทธิบัตตัวนี้ในการไปเรียกร้องเอาส่วนแบ่งจากบริษัทต่างๆที่มีผลิตภัณฑ์หรือสิ่งประดิษฐ์ที่คล้ายกับสิทธิบัตที่จดขึ้นมา
สิ่งที่ Selden ทำมีเพียงอย่างเดียวคือการจัดตั้งบริษัท ALAM เพื่อบริหารจัดการสิทธิบัตรเกี่ยวกับการขับเคลื่อนรถยนต์ด้วยเครื่องสันดาบภายใน กิจกรรมหลัก ๆ คือการยื่นฟ้องบริษัทหรือบุคคลที่มีสิ่งประดิษฐ์ใกล้เคียงกับสิทธิบัตรที่ตัวเขาเองมีอยู่ในมือ
ทาง Henry Ford เองที่ต้องการจะผลิตรถยนต์เครื่องยนต์สันดาบภายในตอนนั้นก็ต้องมาขออนุญาติจาก Selden แต่ถูกปฏิเสธ เพราะพันธมิตรหลักของ Selden คือ Oldsmobile ซึ่งเป็นบริษัทผลิตรถยนต์ใน Detroit ที่มีการแบ่งผลกำไรให้กับ Selden อยู่ ทำให้ Selden เลือกที่จะปฏิเสธ Ford เพื่อลดคู่แข่งให้กับ Oldsmobile
Henry Ford จึงต้องพัฒนารถพลางสู้คดีกับนาย Selden คนนี้เหมือนกัน โดยได้ทำการสู้คดีถึง 2 รอบด้วยกันและ Ford สามารถชนะในรอบที่สอง ด้วยเหตุที่เขียนแบบที่ Selden ใช้ในการจดสิทธิบัตรไม่ได้ละเอียดขนาดนั้นแถมแบบยังไม่อัพเดต ทาง Ford เองก็ยืนยันว่าไม่ได้ใช้แบบของ Selden เพราะเขาเอาดีไซน์เครื่องยนต์ของ Nicolaus Otto มาเป็นต้นแบบในการสร้างเครื่องยนต์ของ Ford และมันเป็นเครื่องยนต์ที่มีมาก่อนแบบของ Selden ตั้ง 50 ปี
หลังจากสู้คดีจนชนะ Ford Motor ก็ได้เริ่มผลิตรถยนต์รุ่นแรกออกมาภายใต้ชื่อ Model A ในปี 1903 เป็นรถสองที่นั่ง ไม่มีหลังคา มีสองกระบอกสูบ 8 แรงม้า มีเกียร์สองสปีด เร่งได้เร็วสุด 45km/h แต่รุ่นนี้ก็ยังไม่ตอบโจทย์เรื่องรถยนต์ที่มีราคาที่ทุกคนสามารถจับต้องได้ ราคาเปิดตัวในตอนนั้นอยู่ราวๆ $800-$900 ซึ่งแพงกว่าคู่แข่งที่อยู่ในเมืองเดียวกันอย่าง Oldsmobile
ในวันที่รถ Model A คันแรกขายได้บริษัทเหลือเงินเพียง $223usd จาก $28,000usd ที่ได้จากกลุ่มนักลงทุนในตอนแรก แต่ในครั้งนี้ Model A ไม่เหมือนบริษัทก่อนๆ มันถูกผลิตขึ้นมาได้ทั้งหมด 1,750 คัน เพราะ Henry Ford ตัดสินใจที่นอกจากจะประกอบรถแล้ว บริษัทต้องสามารถผลิตชิ้นส่วนรถยนต์เองได้ เพื่อที่จะแก้ปัญหาการรอคอยชิ้นส่วนรถยนต์ที่ Henry Ford ได้รับเป็นประสบการณ์จาก 2 บริษัทก่อนหน้านี้ ครั้งนี้ Ford Motor สามารถทำกำไรได้ และทำให้สามารถเดินหน้าในการพัฒนารุ่นต่อๆไปได้
Ford motor กับรถที่ไว้ใจได้ “The most reliable machine”
หลังจาก Model A ได้เริ่มตั้งไข่ให้กับ Ford Motor ได้สำเร็จ ทำให้ Henry Ford เริ่มมีเป้าหมายในการพัฒนารถยนต์อย่างชัดเจนคือ รถที่เชื่อถือได้ในราคาที่ทุกคนเข้าถึงได้ แต่ในช่วงแรกคือมุ่งเน้นไปที่รถที่เชื่อถือได้ก่อน "most reliable machine in the world" ด้วยการพยายามแก้ปัญหาที่ยังพบอยู่ในรถยุคนั้น เช่น โซ่หลุดบ่อย (เหมือนจักรยาน) เครื่องยนต์ร้อนเกิน (Overheating) ด้วยการพัฒนารถรุ่นต่อ ๆ มา เช่น Model B ได้นำระบบระบายความร้อนมาใช้กับเครื่องยนต์ (radiator) ด้วยการเอาน้ำที่อุณภูมิปกติ วิ่งเข้าไปเอาความร้อนออกจากกระบอกสูบของเครื่องยนต์ และพาความร้อนทั้งหมดไปปล่อยที่ซี่ตระแกรงเหล็กหน้ารถ ที่จะถูกลมพัดเอาความร้อนทิ้งไปในอากาศ
แต่ด้วยต้นทุนที่สูง Model B จึงเน้นการสร้างรถขนาดใหญ่ 4 ที่นั่งในตลาด Luxury มี 4 กระบอกสูบ แรงขับ 24 แรงม้า (สูงกว่า Model A ถึง 3 เท่า) และ แน่นอนราคาที่ทะลุกระเป๋าไปถึง $2000usd ต่อคันในเวลานั้น ทำให้ยอดขายของ Model B มีไม่ถึง 1000 คัน
หลังจาก Ford Model B ที่เป็นรถใหญ่ราคาสูง Henry Ford ได้เรียนรู้กับเทคโนโลยีใหม่ ๆ เช่น ระบบรับแรงกระแทก, เบรค, การระบายความร้อน และอื่น ๆ อีกมากมายทำให้ Ford สามารถเอาเทคโนโลยีเหล่านั้นมาปรับประยุกต์ใช้กับรถคันต่อ ๆ มา แต่สิ่งที่ Henry Ford ยังไม่สามารถทำได้คือการทำให้เป็นรถที่ทุกคนเป็นเจ้าของได้ ตั้งแต่ Model C, AC ที่เน้นเอา โครงสร้าง Model A มาใช้กับเครื่องยนต์และเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่ Henry Ford ได้เรียนรู้จาก Model B ทำให้รถมีความน่าเชื่อถือมากกว่าคู่แข่ง เช่น Oldsmobile แต่ราคาก็ยังคงสูงกว่าคู่แข่งแทบทุกรุ่น ทำให้ Ford Motor ก็ยังไม่สามารถหาตัวทดแทน Model A ที่เป็นรถที่สร้างกำไรให้กับบริษัทได้
A/B/C testing การทดสอบตลาดด้วยรถ 3 รุ่น (Model F/K/N)
จากความสำเร็จใน Model A ทำให้ Ford Motor เติบโตขึ้นจากพนักงาน หลัก 100 คนมาสู่หลัก 1,000 คนภายในเวลาเพียง 3 ปี แต่ Ford ก็ยังไม่สามารถทิ้งห่างคู่แข่ง ณ เวลานั้นได้ รถของ Ford Motor ได้รับความน่าเชื่อถือในตลาด แต่เรื่องราคาก็ยังไม่สามารถสู้กับคู่แข่งที่เล่นอยู่ในตลาดล่าง เช่น Oldsmobile และเรื่องความหรูของ Model B ก็ยังไม่สามารถเทียบเคียงกับ Cardillac ได้เช่นกัน จนกระทั่งในปี 1906 Ford Motor ได้ออกรถพร้อมกันทีเดียว 3 รุ่น คือ Model F, Model K และ Model N ที่เจาะกลุ่ม 3 ตลาด 3 ราคา ในเวลาเดียวกันเพื่อดูว่าอะไรจะเป็นจุดสมดุลที่ตอบโจทย์ของ Ford Motor มากที่สุด ไม่ต่างอะไรกับการทำ A/B testing ในการยิงโฆษณาในปัจจุบัน
Model F : Henry Ford ตัดสินใจกลับไปลองกับตลาด luxury อีกครั้ง เพราะ การได้มาซึ่งคุณภาพที่ Henry Ford ต้องการไม่สามารถสู้กับราคาคู่แข่งที่อยู่ในตลาดได้ Ford Motor เริ่มต้นด้วยการสร้าง Model F รถ 2 ที่นั่งที่ต่อยอด Model B หรือเจ้ารถ 4 ที่นั่ง 4 กระบอกสูบ มีหลังคา สีเขียว ที่นั่งที่เคยทำไว้ แต่อยู่บนโครงสร้างของ Model A และ Model C หรือ จะเรียกว่าเป็น Mini Model B ในราคา $1000usd ถูกกว่า Model B ครึ่งนึง แต่กลยุทธ์นี้ก็ยังไม่ถือว่าลงตัว ด้วยยอดขายเพียงแค่ 1,000 คัน ก็ยังไม่สามารถจัดได้ว่าเป็นรถที่สร้างกำไร
Model K : เป็นรถ Luxury ขนาดใหญ่ที่พัฒนาต่อยอดให้มาแทน Model B แต่มีสมรรถนะสูงและภาพลักษณ์ที่หรูกว่า เจ้า Model K เปิดตัวพร้อมกับเครื่องยนต์ 6 สูบ เป็นครั้งแรก และเป็นครั้งเดียวที่ Ford ใช้เครื่องยนต์ 6 สูบ ตั้งแต่เริ่มเปิดบริษัทจนถึงสงครามโลกครั่งที่ 2 ทำให้รถคันนี้มีกำลังสูงถึง 40แรงม้า (จาก 24 แรงม้าของ Model B) และราคาเปิดตัวสูงถึง $2,800usd ชนคู่แข่งใน segment เดียวกันเช่น Cardillac และ Packard รถ Model K ถูกนำเสนอในภาพลักษณ์สุดหรู ด้วย trim หรือการตกแต่งด้วยวัสดุและสีราคาแพง เช่น เบาะหนัง หรือ การใช้ gold plating (ชุบสีทอง) กับกระจังหน้า ขอบไฟ เสาหลังคา และ สีตัวถัง deep blue ทำให้ Model K ถูกใจมหาเศรษฐีมากมาย ในปีที่เปิดตัวสามารถสร้างกำไร 85% ให้กับ Ford Motor ในช่วงปีแรกทันที แต่ด้วยกลุ่มมหาเศรษฐีที่ไม่ได้ใหญ่นัก ทำให้ความสามารถทำกำไรค่อย ๆ ลดลงในปีถัด ๆ มา ตลอด 3 ปี Model K ถูกผลิตเพียง 500 คัน แล้วก็ต้องหยุดไปในปี 1908
Model N: เกิดขึ้นมาโดยมีความตั้งใจว่า “ฉันจะทำรถที่มีราคาถูกลงมาให้ได้!” เจาะไปกลุ่มตลาดล่างฉีกออกจาก Model F และ K โดยรถรุ่นนี้มี 2 ที่นั่ง มาพร้อมกับเครื่องยนต์ 4 สูบวางด้านหน้าที่ให้แรงขับ 15 แรงม้า เปรียบเสมือนรุ่น upgrade ของ Model A และ C ที่เคยทำมาแต่สมรรถนะสูงกว่า และที่สำคัญที่สุดคือ ราคาถูกลงแบบที่ทุกคนจับต้องได้ด้วยราคาเริ่มต้นเพียงแค่ $500USD เท่านั้น เพื่อวัดใจกับตลาดนี้ไปเลยว่าจะไปต่อได้หรือไม่ การที่จะทำให้ราคาลดลงมาได้ขนาดนี้ก็ต้องแลกกับกระจกหน้าและประตูที่หายไป แต่ยังดีที่ยังเหลือหลังคาเอาไว้ให้ Model N เริ่มมีการพัฒนาแนวความคิดในรูปแบบ Mass Production มากขึ้นด้วยการใช้ Vanadium Steel มาชุบโครมเมี่ยม ซึ่งมีคุณสมบัตที่แข็งแรงเหมือนเหล็กแต่เบากว่าทำให้น้ำหนักรถลดลงประกอบง่าย และการชุบโครมก็ทำให้ชิ้นส่วน Vanadium ไม่เป็นสนิมง่าย แล้วก็เป็นไปตามคาดคือผลตอบรับ กับ Model N ดีมากชนิดทิ้ง เจ้า Model F/K แบบไม่เห็นฝุ่น ด้วยยอดขายทั้งหมด 7,000 คัน ตลอดระยะเวลา 3 ปีที่ขายอยู่ในตลาด และเจ้า Model N ก็ถูกพัฒนามาเป็น Model R และ Model S ที่มีลักษณะเหมือน minor change ปรับโฉมเล็กๆน้อยๆ เพื่อเพิ่มยอดขายในปีต่อๆมา
จากการทดลองตลาดในช่วง 1906-1908 ทำให้ Henry Ford เห็นภาพชัดเจนแล้วว่า รถที่คนอเมริกันต้องการคือ “รถที่เชื่อถือได้ในราคาจับต้องได้” แต่เจ้า Model N นี่ก็ยังไม่ตอบโจทย์ในสิ่งที่ Ford ต้องการอยู่ดี เพราะเขาต้องการทำรถที่ไม่ต้องลด spec แต่อยู่ในราคาที่คน "ทุกคนซื้อได้จริงๆ" และระบุอย่างชัดเจนเลยว่า “เราจะต้องพัฒนารถและระบบการผลิตให้มันมีประสิทธิภาพมากขึ้น เพื่อลดต้นทุนตรงนี้ให้ได้!”
Model T รถที่ถูกผลิต 15 ล้านคัน และอยู่ในตลาดนานถึง 20 ปี
จากบทเรียนทางการตลาดที่ได้มาจาก Ford Model N ทำให้ Henry Ford ตัดสินใจตั้ง Team R&D ประกอบไปด้วย Childe Harold Wills, Joseph A. Galamb และ Eugene Farkas โดยมีเป้าหมายที่จะพัฒนารถที่ราคาเข้าถึงได้โดยไม่ลดสเปคลง ในเวลานั้นรถ Ford ไม่ใช่รถที่ถูกที่สุดในตลาด แต่รถที่ราคาถูกในตลาดมักจะเป็นรถที่ถูกลด spec ลงจนไม่สามารถไว้ใจได้ในเรื่องของคุณภาพและความปลอดภัย Henry Ford จึงมีสมมติฐานว่าหากเขาสามารถสร้างรถราคาจับต้องได้แต่ยังคงไว้ซึ่งมาตรฐานของเขา รถคันนั้นต้องเป็นรถที่ตอบโจทย์อย่างแน่นอน
ขั้นตอนของการการพัฒนาแบบนั้นเริ่มต้นจากการพัฒนาชิ้นส่วนให้ประกอบง่ายมากขึ้น การใช้ Vanadium Steel ที่ได้เรียนรู้จาก Model N ทำให้รถมีความแข็งแรงแต่น้ำหนักเบาลง รวมถึงเริ่มมีการออกแบบให้มีลักษณะเป็น Standard Part ในการประกอบมากขึ้นทำให้เกิดการซ่อมบำรุงเป็นเรื่องที่ง่ายขึ้นในภายหลัง พอ Part ถูกออกแบบให้มีความนิ่งชัดเจน การพัฒนาการผลิตก็ง่ายขึ้นในเวลาต่อมาเช่นกัน Model T ถูกเปิดตัวในราคาคันละ $850usd ในปี 1908 พร้อมสมรรถนะที่ดีขึ้นในทุกด้านจาก Model N ไม่ว่าจะเป็นเครื่อง 4 สูบขนาด 2.9 ลิตร ให้พลังขับเคลื่อน 20 แรงม้า เร่งความเร็วสูงสุด 68km/h และด้วยความน่าเชื่อถือเดิมที่ Ford Motor สั่งสมมาเรื่องคุณภาพของรถพร้อมกับสมรรถนะที่ดีกว่าคู่แข่งในราคาเดียวกัน ทำให้ยอดจองในสัปดาห์แรกที่เปิดตัวสูงถึง 15,000 คัน ทำให้ Henry Ford ต้องเริ่ม "เร่งพัฒนาระบบการผลิตอย่างเต็มรูปแบบ" แทบไม่มีเวลาให้ใครใน Ford Motor พักกันเลยทีเดียว
ในช่วงแรกเริ่มของการผลิต Model T ยังคงเป็นระบบใช้แรงงานคนช่วยกันประกอบรถเป็นคัน ๆ ด้วยพนักงานหลัก 1,000 คนในเวลานั้น Model T ถูกผลิตได้วันละ 11 คันเท่านั้นในช่วงเดือนแรกที่เปิดการผลิต ซึ่งไม่เพียงพอต่อความต้องการในตลาดที่เกิดขึ้นแน่นอน Henry Ford และทีมพัฒนาจึงเริ่มลงไปดูถึงขั้นตอนการผลิตเพื่อหาทางลดชั่วโมงในการผลิตรถต่อคัน แล้วพวกเขาก็พบว่าในการผลิตรถหนึ่งคันนั้นใช้ท่วงท่าการผลิตมากถึง 7,882 ท่วงท่า เขาจึงเริ่มมีไอเดียในการกระจายท่วงท่าในการประกอบออกเป็น station โดยให้ชิ้นส่วนของรถยนต์ค่อยๆไหลไปตามสายพานที่มีคนยืนรออยู่ตาม station พอชิ้นส่วนไหลมาถึงคน คนก็ทำหน้าที่ประกอบชิ้นส่วนนั้นขึ้นมา ซึ่งวิธีนี้ก็ไม่ได้เป็นสิ่งมหัศจรรย์ใดเพราะแรงบันดาลใจนั้นมาจากโรงชำแหละเนื้อสัตว์ที่ค่อย ๆ ให้วัวลำเลียงเข้าไปหาคนเชือดแทนที่ให้คนเชือดวิ่งเข้าไปหาวัว
และนี่คือที่มาของคำว่า “สายพานการผลิต”
หลังจากที่ได้ Concept ในเรื่องสายพานการผลิตแล้ว Henry Ford ได้เริ่มจากตัวจุดระเบิดในห้องเครื่องเพื่อทำการพิสูจน์ Idea ที่คิดไว้ (proof of concept) โดยตั้งสายพานการผลิตไว้ และแยกชิ้นส่วนของตัวจุดระเบิด ออกเป็นชิ้นๆ ให้ชิ้นส่วนของตัวจุดระเบิดค่อย ๆ วิ่งเข้าไปหาคนและชิ้นส่วนอื่น ๆ ที่ต้องใช้ในการประกอบในแต่ละ station
พอชิ้นส่วนวิ่งมาเจอคน คนก็ทำหน้าที่เอาชิ้นส่วนที่จำเป็นมาประกอบไปทีละ station โดยที่คนไม่ต้องลุกเดิน เอี้ยวตัว หรือทำท่าทางที่ไม่เกิดประโยชน์ต่อการผลิต สิ่งที่ได้คือ สามารถลดระยะเวลาการผลิตตัวจุดระเบิดจาก 20 นาทีต่อชิ้น มาเหลือ 13 นาที 10 วินาทีต่อชิ้น
หลังจากนั้นก็เริ่มเอา Concept นี้ไปใช้กับชิ้นส่วนอื่น ๆ ทีละชิ้น จนครบเป็นรถ 1 คัน ทำให้ระยะเวลาที่ใช้ในการผลิตรถยนต์ 1 คันนั้นลดลงถึง 12 เท่าเลยทีเดียว! จาก 12 ชั่วโมงต่อคันเหลือเพียง 1.33ชม.เท่านั้น และผลิตรถ 1,000 คันต่อวันก็ได้เกิดขึ้นเป็นครั้งแรกของโลก!!! ในปี 1914
หลังจากพัฒนากันมาอย่างต่อเนื่อง สุดท้ายแล้วราคาของ Ford Model T ก็ลดเหลือเพียง $260usd/คัน ในปี 1925 หรือ 1 ใน 3 ของราคาเริ่มต้นที่ได้ตั้งไว้ในปี 1908 ซึ่งตรงกับความต้องการของฟอร์ดและทีมพัฒนาที่ต้องการที่จะให้ทุกคนสามารถเป็นเจ้าของรถคันนี้ได้ ทำให้มนุษย์เดินทางได้ไกลมากขึ้น ขนสัมภาระได้ ไปเป็นครอบครัวได้ และนี่คือสาเหตุที่ทำให้ในช่วงก่อนสงครามโลก 80% ของรถบนถนนเป็น Ford Model T และเป็นการสิ้นสุดของรถม้าที่ครองโลกมายาวนานเกือบ 1000 ปี
แล้วพวกเขาจะกลายมาเป็นลูกค้าเราในทันที!!!
เมื่อใช้ระบบสายพานในการผลิต ระบบนี้ส่งผลดีมาก ๆ ต่อปริมาณของรถที่ผลิตได้ในแต่ละวัน แต่ในทางกลับกันมันลดทอนทักษะของพนักงานในสายการผลิต จากคนที่ต้องมีความรู้และทักษะในทางช่างและระบบกลไกถึงจะมาทำงานประกอบรถได้ กลายเป็นแค่เป็นมนุษย์ที่พอสื่อสารได้ก็เพียงพอ เพราะในบางพาร์ทของการผลิตหน้าที่ของพนักงานประกอบมีหน้าที่แค่มานั่งขันน๊อตเท่านั้น และทำสิ่งนั้นอย่างเดียวตลอดทั้งวัน 12 ชั่วโมง 7 วันต่อสัปดาห์ ทำให้คุณค่าความเป็นมนุษย์ในสายการผลิตของ Model T เริ่มถูกตั้งคำถามว่า “ฉันมาทำอะไรที่นี่” เกิดปัญหาการลาออกของพนักงานในสายการผลิตอย่างต่อเนื่อง และถึงแม้จะมีพนักงานใหม่เข้ามาก็จะต้องมานั่งสอนงานกันใหม่ ปัญหานี้เริ่มใหญ่ขึ้นเรื่อยๆจน Henry Ford ต้องเรียกบอร์ดบริหารทุกคนมาหารือกันถึงทางออกที่จะทำให้ปัญหาการลาออกนี้ลดลง
Henry Ford เริ่มประชุมกับที่ประชุมและนักลงทุนใน Ford Motor ด้วยการบอกตัวเลขกำไร $26ล้านusd ในปี1914 แต่พนักงานในสายการผลิตของ Model T มีรายได้เพียง $2.34usd ต่อวัน Henry Ford ประกาศในที่ประชุมว่าจะขึ้นค่าแรงให้กับพนักงานทุกคน เป็น $5 ต่อวันทันที และลดเวลางานเหลือ 8 ชั่วโมงต่อวัน และให้ทำงานเพียง 6 วันต่อสัปดาห์ สวนทางกับแนวความคิดของนักลงทุนในเวลานั้นแบบสุดขั้ว แต่ด้วยความสามารถในการเล่นกับสื่อของ Henry Ford ข่าวเรื่องการเพิ่มค่าแรงถูกแพร่กระจายไปตามสื่อทันที ทำให้มีคนนับ 10,000 คนโผล่มาขอสมัครงานที่ Ford Motor ทันทีในวันต่อมา ซึ่งทางออกนี้ทำให้คนที่เป็นพนักงานในสายการผลิต Model T มีชีวิตที่ดีขึ้นทันที แล้วเมื่อคุณภาพชีวิตของพนักงานดีขึ้น พวกเขาเริ่มมีกำลังในการซื้อ พนักงานเหล่านั้นก็จะกลายมาเป็นลูกค้าของ Ford ทันทีในเวลาอันสั้น เพราะเก็บเงินเพียงไม่กี่ปีก็สามารถเป็นเจ้าของ Model T ได้ แถมยังลดปัญหาเรื่องการที่จะต้องมาเสียเวลานั่งสอนพนักงานใหม่อยู่เรื่อยๆไปอีก แล้วปัญหาเรื่องคนลาออกก็หายไปเลยในทันที! และนี่ก็เป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างคุณภาพชีวิตที่ยุติธรรมให้แรงงานในอเมริกาอีกเช่นกัน
Henry Ford เชื่อมั่นใน Model T ว่าเป็นคำตอบของสังคมในเวลานั้น ที่คนไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนรถเรื่อย ๆ หรือ หารถคันอื่นมาทดแทน เป็นแค่ Model T ก็เพียงพอแล้ว แต่ในทางกลับกัน เมื่อทุกคนได้เข้าถึงความสามารถในการเดินทางจาก Model T แล้ว ความต้องการของคนก็เริ่มมองหาอะไรที่มากขึ้น คู่แข่ง อย่าง Chaverolette ในเวลานั้นเริ่มนำเสนอ Model รถที่แตกต่าง และ ความรู้ในเรื่องสายการผลิต ก็เริ่มถูกลอกไปใช้กับค่ายผลิตรถอื่น ๆ ยอดขาย Model T ก็ค่อย ๆ ตกลง จนปี 1927 Ford จึงเริ่มนำเสนอ รถ Model A ที่ต่อยอดจาก Model T ให้เป็นรถที่หรูกว่า และ สมรรถนะดีกว่า โดยราคาเริ่มต้นที่ $385usd แต่สามารถ upgrade ไปจนถึง $1400usd และ การผลิต Model T ก็ค่อย ๆ ลดลงจนสิ้นสุดในปี 1931
#fordmodelT #design #industrialdesign #innovation #นวัตกรรม #engineer #designhistory